วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555



เปตอง


เปตอง (ฝรั่งเศส: Pétanque [pe.tɑ̃k]) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นโดยการโยนลูกบอลเหล็กให้เข้าใกล้ ลูกแก่น (cochonnet) ที่ทำจากไม้ให้มากที่สุด กีฬาชนิดนี้มักเล่นบนพื้นดินแข็งหรือพื้นกรวดละเอียด แต่ไม่เหมาะกับพื้นทราย


ประวัติศาสตร์
เปตองมีต้นกำเนิดจากประเทศกรีก ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวฝรั่งเศสกว่า 17 ล้านคนนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ในยามว่าง
ประวัติศาสตร์เปตองในประเทศไทย มีผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเล่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่เมื่อทรงประทับอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาเปตองในประเทศไทย


วิธีและเทคนิคการเล่นเปตอง
วิธีการจับลูกเปตอง 4 แบบ

จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว
จับลูกเปตองแบบทั้ง 5 นิ้ว
จับลูกเปตองแบบคีบ นิ้วโป้งอยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง
จับลูกเปตองแบบขยุ้ม เหมาะกับคนมือเล็ก


พื้นฐานความรู้เปตองเบื้องต้น
กีฬาเปตองสามารถจำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. การจับลูกเปตองอย่างไรให้ถูกวิธี
2. การปล่อยลูกเปตอง ปล่อยอย่างไรให้ลูกเปตองไปยังเป้าหมายที่เราต้องการ
3. การยกฐานกำลังจะทำอย่างไรให้มีกำลังที่จะโยนลูกเปตองให้ได้หลายๆระยะ
4. การเกาะลูกเปตองหรือการเข้าลูกเปตองจะทำอย่างไรให้เข้าลูกเปตองได้ทุกสภาพสนาม

1. การจับลูก – ส่วนใหญ่นักกีฬาเปตองที่เริ่มเล่นเปตองใหม่ๆ โดยที่ไม่มีโค้ชลอยแนะนำหรือมีโค้ชก็แล้วแต่มักจะจับลูกเปตองตามความถนัดมิได้จับลูกเปตองโดยหลักการ บางคนก็โชคดีที่บังเอิญไปจับลูกถูกกับสรีระตัวเองเข้าก็เลยเล่นเปตองได้ดี การจับลูกเปตองในลักษณะคว่ำมือนั้นมีอยู่ 4 วิธีด้วยกันคือ
1.1 จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว โดยไม่ใช้นิ้วโป้งสัมผัสกับลูก การจับลูกในลักษณะนี้จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นมีนิ้วที่ยาว และแข็งแรงที่สามารถจะจับลูกเปตองได้เกินครึ่งลูกขึ้นไป ถ้าบุคคลใดมิได้มีคุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็ให้ใช้แบบที่ 2 ต่อไป
1.2 การจับลูกในลักษณะใช้นิ้วทั้ง 5 นิ้ว สัมผัสลูกเปตองพร้อมๆ กัน การจับลูกเปตองในลักษณะนี้จะทำให้การจับเกิดการกระชับมากขึ้นกว่าแบบที่ 1 ก็เพราะว่านิ้วโป้งเป็นนิ้วที่แข็งแรงที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้งานจะทำให้บุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และเล็กสามารถเล่นเปตองได้ดีขึ้น การจับลักษณะนี้ให้นิ้วโป้งอยู่ใกล้นิ้วชี้ให้มากที่สุด
1.3 การจับในแบบที่ 2 ถ้าผู้เล่นยังไม่สามารถที่จะเล่นเปตองได้ทุกระยะก็ให้หันมาจับแบบที่ 3 ต่อไป การจับแบบที่ 3 นี้ให้ผู้เล่นถ่างนิ้วโป้งออกมาให้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าจับแบบคีบการจับในลักษณะนี้จะใช้กำลังจากนิ้วโป้งเป็นหลัก
1.4 การจับลูกในลักษณะของการขยุ่ม การจับลักษณะนี้ผู้เล่นจะถ่ายนิ้วออกทุกนิ้วโดยไม่ให้นิ้วติดกันการจับแบบนี้จะใช้กับบุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และมีมือที่เล็กมากๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับเด็กเล็กๆ เช่น เด็กอนุบาล หรือเด็กปฐมเป็นต้น


ประวัติความเป็นมาของกีฬาเปตอง

เปตองเป็นกีฬาที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีบันทึกไว้ แต่หลักฐานการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศกรีซเมื่อประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน วิธีการเล่นคือ ใครจะโยนไอ้แม่นและไกลที่สุดกว่ากัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจ และเข้ายึดครองดินแอนชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันก็ได้รับเอาวัฒนธรรม และการเล่นกีฬาประเภทนี้ไปจากชนชาวกรีกด้วย ต่อมา ชาวโรมันได้ใช้การเล่นกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น
ครั้นต่อมา เมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกล หรือประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสการเล่นลูกบูลนี้จึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกบูลให้พอเหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ครั้งพอถึงสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศ และสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้เป็นไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะในพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโบเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจ พระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ให้มีการเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆไปได้เล่นกันอย่างเสมอภาคกันทุกคน การเล่นลูกนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลแบร-รอตรอง, บูลลิ-โยเน่ส์, บูลเจอร์-เดอร์ลอง และบูล-โปรวังซาล เป็นต้น
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ 1910 ณ ตำบลลาซิ-โอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชลด์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาล ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีฝีมือการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่เก่งที่สุดได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนขาสองข้างพิการ ไม่สามารถเล่นต่อไปได้จนน้องชายของเค้าเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเห็นจึงให้พี่ชายทดลองโดยโยนดูขณะนั่งอยู่บนรถเข็น โดยการเอาลูกเป้าโยนไว้ใกล้ๆ ประมาณ 3-4 เมตร นายจูลร์ เลอนัวร์ ก็สามารถโยนลูกบูลไปด้วยกำลังแขนและข้อมือได้ด้วยความแม่นยำ น้องชายของจึงได้ดัดแปลงแก้ไขกติการเล่นลูกบูลขึ้นมาใหม่ โดยการขีดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนอยู่ในวงกลม ให้ขาทั้งสองข้างยืนชิดติดกัน และไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล เกมส์นี้กำเนิดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่นี้เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ในที่สุดก็ได้ก่อตั้ง “สหพันธ์เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นใน ค.ศ 1938 โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นนับเป็นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เข้าเป็นสมาชิก ลูกเปตองที่ใช้เล่นกันก็ทันสมัยมากขึ้น เพราะมีผู้คิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งกว่าเดิม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้จึงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ลิโยเน่ส์
2. โปรวังซาล (วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นกันในปัจจุบัน)
ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย เกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย นิยมเล่นกันมาก เช่น ฝรั่งเศส, สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมันตะวันตก, เวเนซูเอลา, อังกฤษ, ฮอลแลนด์, สเปน, สวีเดน, แคนาดา, ตูนีเซีย, อัลจีเรีย, โมรอคโค, มาดากัสกาฯลฯ สำหรับทวีปเอเชียประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย และกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน ไทยเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์เปตองนานาชาติ นอกจากนั้นยังมีประเทศเพื่อบ้านในทวีปเอเชียเล่นกันเกือบทุกประเทศในปัจจุบัน
คำว่า “PETANQUE” นี้มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “บิเยส์ ตองแกร์” ซึ่งมีความหมายว่า “ให้ยืนสองเท้าชิดติดกัน” ซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับ “บูลโปรวังซาล” ที่ต้องวิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล


ประวัติความเป็นมาในประเทศไทย

กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก และนำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนได้รู้จักอย่างเป็นทางการคนแรก แต่ขณะนั้นยังขาดอุปกรณ์การเล่นเปตอง (ลูกบูล) จึงได้ปรึกษา และชักชวนนายดนัย ตรีทัศนาถาวร และนายชัยรัตน์ คำนวณ ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น เป็นผู้ลงทุนสั้งลูกเปตองเข้ามาจำหน่ายและเผยแพร่ในประเทศไทย
แต่เปตองเป็นกีฬาที่ใหม่อยู่มากในเมืองไทย ยังมีคนรู้จักน้อยลูกเปตองยังจำหน่ายไม่ได้ แต่นายดนัย ตรีทศถาวร ซึ่งเป็นผู้ที่มองการไกล และเห็นประโยชน์ และความสำคัญของกีฬาเปตอง จึงได้ทำการจ่ายแจกให้แก่ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการเชิญชวนให้หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้ดูบ้าง
ต่อมานายจันทร์ โพยหาญ ได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากันนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ ความสามารถในเรื่องของกีฬาเปตองเป็นอย่างดี และอีกท่านยังไม่ได้กล่าวนาม ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตองและโปรวังซาลแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก
แต่ก็ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังขาดผู้สนับสนุน จนคิดว่าจะล้มเลิกความมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ต่อไปอีก แต่โชคยังเข้าข้างผู้ที่มุ่งหวังกระทำความดีเสมอ ตราบเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินที่เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ 2521 นายจันทร์ โพยหาญ ได้นำอุปกรณ์กีฬาเปตองไปแนะนำวิธีการเล่นให้แก่ข้าราชบริพาร และพระองค์ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับสั่งว่า “พระองค์เคยเล่นกีฬาประเภทนี้ตั้งแต่พงองค์พระชนมายุ 30 กว่า กีฬาเปตองมีประโยชน์มากได้ทั้งบริหารร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพดี และสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะซึ่งมีประโยชน์มากมายสำหรับคนไทย ขอให้นายจันทร์ โพยหาญ จงทำหน้าที่ต่อไป พระองค์ช่วงส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง”
วันที่ 9 ตุลาคม 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมเปตอง และโปรวังซาลแห่งประเทศไทย ไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2530 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตอง และโปรวังซาลเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อม่ได้แก้ไขข้อบังคับสหพันธ์ฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยเป็น “สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 และได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนสมาคมฯ ประจำปีจากรัฐบาลตั้งแต่ปี ค.ศ 2538 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น