วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษาเหนือ


ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน


ตัวอย่างเช่น

ยี่สิบ - ซาว

ไม่ - บ่

เที่ยว - แอ่ว

ดู - ผ่อ

สวย - งาม

อีก - แหม

นาน - เมิน

สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน

อร่อย - ลำ

ข้าวเช้า - เข้างาย

ข้าวเที่ยง - เข้าตอน

ข้าวเย็น - เข้าแลง


พยัญชนะต่างกัน

เชียงใหม่ - เจียงใหม่ (ภาษาเหนือไม่มีเสียง ช ช้าง)

ร้อน- ฮ้อน(ภาษาเหนือไม่มีเสียง ร เรือ)

พี่ - ปี้

ที่ - ตี้


สระต่างกัน

เห็น - หัน

เอว - แอว


ให้ - หื้อ


วรรณยุกต์ต่างกัน

กิน - กิ๋น

จาน - จ๋าน


ตัวอย่างวลีที่ใช้บ่อย

สวัสดีค่ะ- สวั๋สดีเจ้า

สบายดีไหม - สบายดีบ๋อ

เป็นอย่างไรบ้าง - เป๋นจะใดพ่อง

มาจากไหน - ลุ่กไหนมา

กินข้าวแล้วหรือยัง - กิ๋นเข้าแล้วกา

อร่อยไหม - ลำก่อ

ขอบคุณมาก - ยินดีจ้าดนัก

ขอโทษ - ขอสูมาเต้อะ

ไม่เป็นไร - บ่เป๋นหยัง

จะกลับก่อนนะ - จะปิ้กก่อนเน่อ

พี่ชายชื่ออะไรค่ะ - อ้ายจื้ออะหยังเจ้า

คอยเดี๋ยวนะ - ท่ากำเน่อ

ไปทางไหน - ไปตางใด

เท่าไหร่ - เต้าใด

แล้วพบกันใหม่ - แล้วป๋ะกันใหม่


จำนวนนับ

1 = นึ่ง

2 = สอง

3 = สาม

4 = สี่

5 = ห้า

6 = ฮก

7 = เจ๋ด

8 = แปด

9 = เก้า

10 = ซิบ

11 = ซิบเอ๋ด

20 = ซาว

21 = ซาวเอ๋ด


พืช ผัก ผลไม้

มะละกอ = บะก้วยเต๊ศ

กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง /ก้วยนิอ่อง

มะตูม = บะปีน

ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง เขียวหวาน

แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )

น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้ / น้อยแหน้

บวบงู = ม่ะนอยงู

มะเขือเปราะ = บะเขือผ่อย

มะเขือยาว = บะเขือขะม้า - - ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า / ม่ะเขือหำม้า

มะระขี้นก = บะห่อย

แตงกวา = บะแต๋ง

กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย

กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้

พุทรา = หม่ะตัน

ละมุด = หม่ะมุด

กระท้อน = บะตื๋น หมะต้อง

มะปราง = บะผาง

ฝรั่ง = บ่ะหมั้น,บะแก๋ว

ขนุน = หม่ะหนุน,บ่ะหนุน

มะพร้าว = บะป๊าว

ส้มโอ = บะโอ

ฟักทอง = บะฟักแก้ว /บะน้ำแก้ว/น้ำแก้ว

ฟักเขียว = บะฟักหม่น

มะแว้ง = บะแขว้งขม

มะเขือพวง = บะแขว้ง /บ่ะแขว้งกุลา

ลูกยอ = หม่ะต๋าเสือ

มะเขือเทศ = บะเขือส้ม

กระท้อน = บะตึ๋น

ตะไคร้ = ชะไคร

คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)

ผักตำลึง = ผักแคบ

ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง


สัตว์

จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด

ค้างคก = ค้างคาก

กบตู่ ลูกอ๊อด = อีฮวก

ปลาไหล = ปลาเอี่ยน

ปลาเหยี่ยน จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ

กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า


เครื่องใช้

กรรไกร = มีดยับ มีดแซม

กระดุม = บะต่อม

เข็มขัด = สายแอว สายฮั้ง

ช้อน = จ๊อน

ทับพี = ป้าก

ถุงเท้า = ถุง

ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม

ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ

ยาสูบ = ซีโย

รองเท้า = เกือก /เกิบ

รองเท้าฟองน้ำ = แค็บ


คำกริยา

กำปั้น หมัด = ลูกกุย

โกรธ = โขด

กลับ = ปิ๊ก (เช่น "เฮาปิ๊กบ้านละหนา")

กางร่ม = กางจ้อง

โกหก = วอก

ขี้จุ๊ กิน = กิ๋น

ก่าย = ปาด อิง

ขโมย = ขี้ลัก ขี่หลังคน(เกาะ) = เก๊าะ

ขี้เหนียว = ขี้จิ๊

คิด = กึ๊ด

เครียด = เกี้ยด

จริง = แต๊(เช่น "แต๊ก๊ะ" = "จริงหรอ")

เจ็บ = เจ๊บ

ใช้ = ใจ๊

ดู = ผ่อ

เด็ก = ละอ่อน

ตกคันได = ตกบันได

เที่ยว = แอ่ว

ทำ = ยะ(เช่น "ยะหยัง" = "ทำอะไร")

นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้

นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดขวาย

นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ

นั่งไขว่ห้างเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเข่า = นั่งปกขาก่ายง้อน นั่งวางเฉย

นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)

นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ

พูด = อู้

รัก = ฮัก

รู้ = ฮู้

ลื่นล้ม = ผะเริด

วิ่ง = ล่น

สวมรองเท้า = ซุบแข็บ

สะดุด = ข้อง

สวยจังเลยนะ = งามหลายน้อ

สบายอกสบายใจ = ซว่างอกซว่างใจ๋

เหรอ = ก๊ะ ห่วง = ห่วง (คำเมืองแท้ๆคือ อ่วง ว้อง หรือ ข๋าง)

เหนื่อย = อิด หม้อย

ให้ = หื้อ

อยาก = ไข อยากอ้วก

อยากอาเจียน = ใขฮาก

อร่อย = ลำ

อร่อยมาก = จ๊าดลำ

อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก

อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง

คิดไม่ออก = กึ๊ดหม่ะออก


คำนาม สรรพนาม

ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

เธอ = ตั๋ว(สุภาพ) , คิง(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

เขา(สรรพนามบุรุษที่ 3) = เปิ้น

ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)

ผู้ชาย = ป้อจาย

ผู้หญิง = แม่ญิง

พวกเขา = หมู่เขา

พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ), คิงเขา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

พวกเรา = หมู่เฮา, เฮาเขา

พ่อ = ป้อ

พี่ชาย = อ้าย,ปี่

พี่สาว = ปี่

ยี่สิบบาท = ซาวบาท

ยี่สิบเอ็ด = ซาวเอ็ด

เรือน = เฮือน

โรงเรียน = โฮงเฮียน

อิฐ = บ่าดินกี่

คำเล่าลือ = กำสีเน

ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆจะแปลว่าปฏิทิน

สี

ดำคึลึ = คนอ้วนล่ำผิวดำ

ดำผืด = ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง

ดำคุมมุม = ดำสลัวอยู่ในความมืด

ดำขิกติ้ก = ดำซุปเปอร์

ดำคิมมิม = คนผอมกระหร่อง ผิวดำ

ดำเหมือนเเหล็กหมก = ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ

ดำเหมือนหมิ่นหม้อ = ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ

ดำผึด = ดำทั่วทั้งแถบ

ดำผึดำผึด = ดำมากๆทั่วๆไป

แดงฮ่าม = แดงอร่าม

แดงเผ้อเหล้อ = แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว

แดงปะหลึ้ง = แดงจัดมาก

แดงปะหลิ้ง = แดงอมชมพู แดงเป็นจุดเล็กๆ

เหลืองฮ่าม = เหลืองอร่าม

เหลืองเอิ่มเสิ่ม = เหลืองอมส้ม

เขียวอุ้มฮุ่ม = เขียวแก่

เขียวปึ้ด = เขียวจัดมาก

มอยอ้อดฮ้อด = สีน้ำตาลหม่น

ขาวจั๊วะ = ขาวนวล

ขาวโจ๊ะโฟ้ะ = ขาวมากๆ

ขาวเผื้อะขาวเผือก = มองไปทางไหนก็ขาวไปหมด

เปิดเจ้อะเห้อะ = สีขาวซีด

หม่นซ้อกป้อก = หม่นมัวหรือเทาอ่อน

หม่นโซ้กโป้ก = หม่นสกปรกหรือสีเทาแก่

หมองซ้อกต๊อก = ดูเก่า หรือซีด จืดไป

เส้าแก๊ก = สีหม่นหมองมาก

เส้าตึ้มตื้อ = ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส

ลายขุ่ยหยุ่ย = ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง

ใสอ้อดหล้อด = สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ

ใส่ยงยง = สว่างจ้า

แสง

เสียงมืดแถ้ก = มืดสนิท

มืดสะลุ้ม = มืดสลัวๆ

มืดซุ้มซิ้ม = มืดนิดๆ

มืดวุ่ยวาย = มืดลางๆ ยังพอจำหน้ากันได้

แจ้งฮุมหุฮุมหู่ = สว่างลางๆเลือนๆ

แจ้งฮ่าม = สว่างจ้าสว่างเรืองรอง

แจ้งลึ้ง = สว่างโร่เห็นได้ชัด

แจ้งดีขวายงาม = สว่างปลอดโปร่งโล่งใจไม่มีอุปสรรค

หันวุยวาย = เห็นเลือนๆลางๆ

ดั้กปิ้ง = เงียบกริบ

ดั้กปิ้งเย็นวอย = เงียบเชียบ

ดั้กแส้ป = ไม่ได้ข่าวคราว

ดั้กก๊กงก = นั่งนิ่ง

ดังทึดทึด = เสียงดังก้องไปทั่ว


กลิ่น

รสเหม็นโอ๊ง, เหม็นโอ่ = เหม็นเน่า

จ๋างแจ้ดแผ้ด = จืดชืด

ขมแก๊ก = ขมมาก

ส้มโจ๊ะโล๊ะ = รสเปรี้ยวมาก

ฝาดหยั่งก้นตุ๊ = รสฝาดมาก



วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษาดัตช์
ยินดีต้อนรับ Welkom เวลคัม
สวัสดี Hallo ฮัลโหล
ขอบคุณ Bedankt เบอะดั๊งคท์
ขอโทษ Pardon ปาร์ดง
ไม่เป็นไร Geen dank เคน ดั๊งค์
ด้วยความเต็มใจ Graag gedaan คร้าค เคอดาน
ดอกทิวลิป tulp ทึลป์
คุณ (ผู้ชาย) meneer เมอะเนียร์
คุณ (ผู้หญิง) mevrouw เมอะเฟราว์
สาววัยรุ่น meisje เมิ้ยสเชอะ
หนุ่มวัยรุ่น jongen ยงเงิ่น
ภาษาอิตาเลียน
สวัสดี Salve ซาลเว
สวัสดี (ทักทาย) ciao เชา
สวัสดีตอนเช้า Buongiorno บุอนจอโน
ราตรีสวัสดิ์ Buonanotte บุอนนา นอตเต
ลาก่อน addio อาดดิโอ
พบกันใหม่ Ci vediamo ชิ เวดิอาโม
สบายดีมั้ย Come stai โคเม สไต
เป็นไงบ้าง Come va โคเม วา
สบายดี Bene เบเน
ก็งั้นๆ cosi cosi โคซิ โคซิ
ภาษาใต้
ภาษาถิ่นใต้ หรือ ภาษาใต้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาปักษ์ใต้ ได้แก่ ภาษาที่พูดกันในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)
ภาษาถิ่นใต้สำเนียงสงขลา
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ตัวอย่างภาษาใต้
เป็นไงบ้าง/อย่างไรบ้าง = พรือมัง, พันพรือม, พันพรือมัง (สงขลา จะออกเสียงว่า ผรื่อ เช่น ว่าผรื่อ = ว่าอย่างไร)
ตอนนี้ ปัจจุบัน = หวางนี่ (คำนี้ใช้ ในภาษาถิ่นใต้ทั่วไป) , แหละนี่ (คำนี้จะใช้เฉพาะในเขตอำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)
โง่ = โม่, โบ่
วัว = ฮัว (มาจากคำว่า งัว ในภาษาเก่า เนื่องจากในสำเนียงใต้จะไม่มีเสียง ง. งู แต่จะใช้เสียง ฮ. นกฮูก แทน)
เจ้าชู้ = อ้อร้อ (จะใช้เฉพาะ กับผู้หญิง เช่น สาวคนนี้ อ้อร้อ จัง คำ ๆ นี้มีความหมายในแง่ลบ ใกล้เคียงกับคำว่า แรด ในภาษากรุงเทพ)
ทุกข์ ลำบาก = เสดสา มาจากภาษามลายู siksa (เช่น ปีนี้เสดสาจัง = ปีนี้ลำบากมาก)
กลับบ้าน = หลบบ้าน, หลบเริน
เยอะๆ หลายๆ = ลุย, จังหู, จังเสีย, กองเอ, คาเอ, จังแจ็ก, จังเสีย, จ้าน, กองลุย
ไปไหน มาไหนคนเดียว =
มาแต่สวน
แฟน = แควน (ฟ จะเปลี่ยนเป็น คว เกือบทุกคำ) ,โม่เด็ก
ตะหลิว = เจียนฉี (ภายหลังมีการเพื้ยนในแถบจังหวัดพัทลุงกลายเป็น ฉ่อนฉี (ช้อนฉี))
ชะมด = มูสัง มาจากภาษามลายู musang
อร่อย = หรอย
อร่อยมาก = หรอยจังหู, หรอยพึด, หรอยอีตาย
ไม่ทราบ = ม่ารู่ม้าย (คำนี้ใช้ในเขต นครศรีธรรมราช และใกล้เคียง) ไม่โร่ (สำเนียงสงขลา เสียง อู จะแปลงเป็น เสียง โอ เช่น รู้ คนสงขลาจะพูดเป็น โร่, คู่ คนสงขลาจะพูดเป็น โค่, ต้นประดู่ = ต้นโด ฯลฯ )
ขี้เหร่, ไม่สวยไม่งาม = โมระ หรือ โบระ (ออกเสียงควบกล้ำ มากจาก buruk เทียบมลายูปัตตานี ฆอระ)
กังวล, เป็นห่วง = หวังเหวิด (คำนี้มักใช้ในภาษาไทยถิ่นใต้ตอนบน แต่โดยทั่วไปก็เข้าใจในความหมาย) มิมัง (ภาษาไทยถิ่นใต้ ในเขต จะนะ เทพา สะบ้าย้อย)
ศาลา = หลา
ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อ = ถุ้ง, หมาตักน้ำ บางถิ่นเรียก ตีหมา หรือ ตีมา มาจาก timba ในภาษามลายู
รีบเร่ง ลนลาน = ลกลัก หรือ ลกลก
อาการบ้าจี้ =
ลาต้า
ขว้างออกไป =
ลิว, ซัด
ซอมซ่อ = ม่อร็อง, ร้าย หรือร้ายๆ , หม็องแหม็ง
โลภมาก = ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โกรธ = หวิบ, หวี่
โกรธมาก =
หวิบอย่างแรง , หวิบหูจี้
บ๊อง = เบร่อ, เหมฺร่อ ,เร่อ
ทำไม = ไซ (หรืออาจออกเสียงว่า ใส)
อย่างไร = พันพรือ, พรือ





มันแกวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แยมบีน (yam bean) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง ชาวสเปนได้นำผลผลิตโดยทั่วไปประมาณ ๑-๒ ตันต่อไร่
ราคาขายส่งประมาณ กกละ ๑.๐๐-๒.๐๐ บาท

ราคาขายปลีกประมาณ กก. ละ ๑.๕๐-๓.๐๐ บาท มาปลูกในฟิลิปปินส์ ปัจจุบันได้มีการปลูกมันแกวกันโดยทั่วไปในประเทศแถบร้อน ได้แก่ แอฟริกา ตะวันออก อินเดีย จีน และประเทศไทย เป็นต้นในประเทศไทยมีการปลูกมันแกวมานานแล้ว อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวญวนเป็นผู้นำเข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมีคนไทยนำเข้ามาจากประเทศเวียดนาม เข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกชาวญวนว่า "แกว" จึงเรียกมันนี้ว่า มันแกว แต่ไม่มีการยืนยันข้อสันนิษฐานนี้

ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้ปลูกมันแกวน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดที่ปลูกมันแกวมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่เพาะปลูกถึง ๘,๓๖๔ ไร่ ให้ผลิตผล ๗,๑๑๕ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑)





มันแกวเป็นไม้เถาเลื้อย ใบคล้ายใบถั่ว หัวอวบ หัวมีขนาดแตกต่างตามชนิดพันธุ์ ที่พบมากเป็นพวกหัวใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม. สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์
มันแกวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แพคีร์ริซุส อิโรซุส (แอล) เออร์บัน (Pachyrrhizus erosus (L) Urban.) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ต้นมีขนเป็นเถาเลื้อย ต้นอาจจะยาวถึง ๕.๕ เมตร ไม่แตกแขนง หัวอวบ มีขนาดใหญ่ โคนต้นเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วยใบย่อย ๓ ใบ ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกสีชมพูหรือขาว ช่อดอกยาว ๑๕-๓๐ ซม. ฝักมีขนาดยาวประมาณ ๗-๑๕ ซม. ฝักเมื่อแก่จะเรียบมี ๘-๑๐ เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลหรือแดง ลักษณะจัตุรัสแบน ๆ ต้นหนึ่ง ๆ มีหัวเดียว หัวอาจเป็นหัวเรียบ ๆ หรือเป็นพู มีรูปร่างแตกต่างกันมาก ส่วนมากหัวมีสี่พู ส่วนที่อยู่ใต้ดินมีอายุข้ามปี แต่ส่วนบนดิน คือ ต้นใบมีอายุปีเดียว

ชนิด
มันแกวที่ปลูกรับประทานมีชนิดใกล้เคียงกันกับ พี อิโรซุส (P. erosus) ดังกล่าวข้างต้นก็มี พี ทูเบอโรซุส (P. tuberosus) ซึ่งแตกต่างจาก พีอิโรซุส เล็กน้อย ที่มีใบย่อยใหญ่ ดอกสีขาว หัวมีขนาดใหญ่กว่า ฝักใหญ่กว่า มีความยาว ๒๕-๓๐ ซม. เมล็ดแบนใหญ่
มันแกวที่ปลูกมากในประเทศไทย ที่พบมี ๒ ชนิดใหญ่ ๆ คือพันธุ์หัวใหญ่ กับ พันธุ์หัวเล็กไม่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน นอกจากเรียกตามชื่อท้องที่ที่ปลูก เช่น มันแกวเพชรบุรีบ้าง มันแกวลพบุรีบ้าง มันแกวบ้านหมอบ้าง ทางแถบสระบุรีเรียกพันธุ์ "ลักยิ้ม" เพราะเมล็ดมีรอยบุ๋ม ทางจังหวัดมหาสารคามมีพันธุ์งาช้าง




องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
- หัว -หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ ๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ ๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม

-ฝัก -ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔ โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม

-เมล็ด- ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟูราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน

ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝักอ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลงหรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อการบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำแห อวน ได้

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ทัชมาฮาล (Taj Mahal)
- ประวัติ
-
ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดียผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135(ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรสาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี
พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์ แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์
แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
ในปี
พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรส โอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทน พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
- ขนาด -
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อาหารบำบัดไมเกรน
"ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการรุนแรงมากแตกต่างกับอาการปวดหัวธรรมดา มักจะปวดหัวซีกใดซีกหนึ่งเป็นเวลานาน 4-72 ชั่วโมง ซึ่งยาแก้ปวดธรรมดาไม่อาจช่วยได้ อาการปวดจากไมเกรนจึงค่อนข้างทรมานมากไมเกรนมักพบในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นไมเกรน เกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า มักเกิดในช่วงอายุ 25-55 ปี นอกจากนี้อาจมาจากสาเหตุอื่นได้แก่ อารมณ์และความเครียด อาหารบางชนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หมดประจำเดือน หรือการใช้ยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะในระยะที่ใกล้มีประจำเดือนหรือใน 2 วันแรกของการมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรงในผู้หญิงบางคนได้ การเปลี่ยนแปลงของอากาศหรืออุณหภูมิ ยาบางชนิด แสงสว่างที่จ้ามากเกินควร กลิ่นที่รุนแรงและควัน เช่นควันบุหรี่ อาการซึมเศร้า การอดอาหารหรืองดอาหารบางมื้อ อดนอนกลไกในการเกิดไมเกรนยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติในการขยายและหดตัวของหลอดเลือดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีบางชนิดในสมอง ที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อระดับของเซโรโทนินในสมองลดลงจากระดับปกติ ทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัวเซลล์ประสาทปล่อยความรู้สึกเจ็บปวดออกมา โภชนบำบัดบรรเทาไมเกรนมีปัจจัยด้านอาหารมากมายที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวหรือปวดไมเกรนได้ บริโภคอาหารไม่เป็นเวลา หรือการงดอาหารบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและเกิดการปวดหัวได้ง่าย อุณหภูมิของอาหาร อุณหภูมิเย็นจัด ของอาหารบางชนิด เช่น ไอศกรีม ถ้าหากรับประทานเร็วๆอาจ กระตุ้นอาการปวดหัวได้ในบางคน อาหารบางชนิดกระตุ้นอาการไมเกรน แต่เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าอาหารชนิดใดกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวเพราะระดับความทนของร่างกายในแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และยังไม่มีอาหารชนิดใดสามารถบำบัดไมเกรนได้ สารอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรน สารไทรามีน (tyramine) พบเป็นองค์ประกอบธรรมชาติในอาหาร ได้แก่ เนยแข็ง (cheese) เครื่องในสัตว์ ปลาเฮอริ่ง ถั่วลิสง เนยถั่ว ช็อคโกแลต กะหล่ำปลีดอง ไส้กรอก กล้วยสุกงอม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเบียร์ ผู้ที่มีความไวต่อสารไทรามีน เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง สารเฟนนิลเอททิลลามีน (Phenylethylamine หรือย่อว่า PEA) สารชนิดนี้ทำให้ปวดหัวได้สำหรับบางคน พบในช็อกโกแลตหรือโกโก้ แต่งานวิจัยในระยะหลังไม่อาจสรุปได้ว่าช็อกโกแลตจะกระตุ้นอาการไมเกรน สารแทนนิน แทนนินเป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในอาหาร เช่น น้ำแอปเปิ้ล ชา กาแฟ ช็อคโกแลต ไวน์แดง เป็นต้น ถึงกระนั้นข้อมูลที่พบก็ยังไม่สามารถยืนยันเกี่ยวกับฤทธิ์การกระตุ้นให้เกิดไมเกรนเมื่อรับประทานสารแทนนินหรือสารไทรามีนเข้าไป สารเจือปนอาหาร (Food additives) สารปรุงแต่งรสหรือวัตถุกันเสียบางชนิด เช่น น้ำตาลเทียม ผงชูรส และดินประสิว ซึ่งใช้ใส่ในไส้กรอก แฮม เบคอน หรืออาหารรมควัน อาจกระตุ้นอาการปวดหัวได้ ผงชูรสอาจทำให้มีอาการปวดหัว ผู้ที่ร่างกายมีความไวต่อผงชูรสควรพยายามหลีกเลี่ยง สารคาเฟอีน คาเฟอีนเพียงเล็กน้อยอาจช่วยให้หายปวดหัวได้ในบางคน แต่ถ้าดื่มมากๆกลับทำให้ปวดหัวได้ เพราะหลังจากดื่มเข้าไปตอนแรกคาเฟอีนจะทำให้เส้นเลือดหดตัวก็จะทำให้คลายอาการปวดหัว แต่เมื่อดื่มมากเกินไปจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด เช่น ไวน์แดง นอกจากจะมีส่วนผสมของสารไทรามีนแล้วยังมีสารฟีนอล (phenols) และสารซัลไฟต์ (sulfites) ซึ่งใช้ในการหมักไวน์เป็นชนวนของการเกิดไมเกรน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควรเมิน ได้แก่ ไวน์แดง แชมเปญ เวอร์มุท และเบียร์สารอาหารที่อาจช่วยบรรเทาไมเกรนการวิจัยพบว่าสารอาหารบางอย่าง เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม และพืชสมุนไพรบางชนิด เช่น ดอกเก็กฮวย (fever few) อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจากโรคนี้ได้ โดยปกติอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันนั้นเช่น ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว ธัญพืช เป็นต้น มีแมกนีเซียมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว นอกจากนี้มีข้อมูลการวิจัยชี้แนะว่าการเสริมแคลเซียมวันละ 1000 มิลลิกรัม ร่วมกับการวิตามินดีทุกสัปดาห์ จะช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนในหญิงที่หมดประจำเดือนได้ดี อาหารที่มีวิตามินบีสูงอาจมีส่วนช่วยลดอาการปวดหัวได้ การขาดวิตามินบีรวมทั้งไนอะซินและกรดโฟลิคอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ วิตามินบี6ช่วยเพิ่มระดับสารเซโรโทมินลดอาการปวดหัวได้ การเสริมวิตามินบี6 5-10วันก่อนมีประจำเดือนอาจช่วยลดอาการปวดหัวในช่วงนั้นได้ธาตุเหล็ก อาการปวดหัวเป็นอาการอย่างหนึ่งของการขาดขาดธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจะช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กได้ น้ำมันปลา อาหารที่มีกรดโอเมกา3ช่วยลดความรุนแรงและความบ่อยของอาการปวดหัวจากไมเกรน การบริโภคปลาทะเลจะช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้
Asanha Puja and Buddhist Lent
The Asanha Puja Day is one of the sacred days in Buddhism as it marks the coming into existence of the Triple Gems, namely ; the Lord Buddha, His Teachings and His Disciples. The day falls on the fifteenth day of the waxing moon of the eighth lunar month (July). It is an anniversary of the day on which Lord Buddha delivered the First Sermon to his first five disciples at the Deer Park in Benares over two thousand five hundred years ago.
To observe this auspicious day, Buddhists all over the country perform merit-making and observe Silas (Precepts). Some go to the temples to offer food and offerings to the monks and also listen to a sermon to purify their minds. The Asanha Puja Day falls on the day preceding the Buddhist Lent which starts on the fist day of the waning moon of the eighth lunar month.
The tradition of Buddhist Lent or the annual three-month Rains Retreat known in Thai as “Phansa” dates back to the time of early Buddhism in ancient India, all holy men, mendicants and sages spent three months of the annual rainy season in permanent dwellings. They avoided unnecessary travel during the period when crops were still new for fear they might accidentally step on young plants. In deference to popular opinion, Lord Buddha decreed that his followers should also abide by this ancient tradition, and thus began to gather in groups of simple dwellings.
Buddhist Lent covers a good part of the rainy season and lasts three lunar months. In Thailand, Buddhist monks resolve to stay in a temple of the choice and will not take an abode in an other temple until the Lent is over.
The celebration of the beginning of Buddhist Lent is marked by the ceremony of presenting candles to the monks. Various institutions e.g. schools and universities, including public and private organisations will organise a colourful candle procession leading to a temple where the offering of the candles will be made.
Some Buddhist followers consider the beginning of Buddhist Lent as a time for making resolution such as refraining from smoking or observing five precepts (Panjasila) throughout the three-month Rains Retreat.
ภาษารัก ภาษาฝรั่งเศส

Bonjour ......... Bonjour..........วันนี้เรามีสำนวนภาษาฝรั่งเศสว่าด้วยเรื่องรักๆ ใคร่ๆฝากนะ
เริ่มกันที่สำนวนสุดคลาสสิกตลอดกาลนะ
Je vous aime beaucou.(เฌอ วู แซม โบกู) - ฉันรักคุณมากนะ
หรือเอาแบบภาษาชาวบ้านนะ คือ Je t'aime - ฉันรักเธอ

และหลายครั้งเมื่อเราห่างเหินคนรักเราก็ต้องรู้สึกคิดถึงเป็นเรื่องธรรมดา ใช้สำนวนนี้เลย
Je pense beaucoup a toi (เฌอ ปองส์ โบกู อา ตัว) - ฉันคิดถึงเธอมากนะ สามารถใช้ได้กะทุกคนนะ

และอีกสำนวนนะสุดโรแมนติกเลย คือ
Je t'aime a l'infini (เฌอ แตม อา แลงฟีนี)- ฉันรักเธอตลอดกาลหรือรักเธอชั่วนิรันด์

อ้า.............จะบอกรักใครก็อย่าลืมช็อกโกแลตเป็นของฝากคนรักสักชิ้นด้วยนะ ความรักจะได้หวานหอมดุจช็อกโกแลต สำหรับวันนี้ก็พอแค่นี้ละกัน เจอกันคราวหน้าค่ะ Au revoir.............

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มากินผลไม้กันดีกว่า

ผลไม้ 10 ชนิดต่อไปนี้ จัดเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ และ กินได้บ่อยๆ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ผลไม้ทั้ง 10 ชนิดนี้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 1.9 – 10 กรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม โดยอะโวกาโดมีคาร์โบไฮเดรตต่ำสุด แอปเปิลมีคาร์โบไฮเดรตสูงสุด

ผลไม้

  1. กีวี - มีสารแอกทินิดีน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้หัวใจแข็งแรง
  2. มะเขือเทศ - ช่วยลดความเสียงจากมะเร็งและโรคหัวใจ
  3. มะละกอ – ช่วยย่อยอาหารและโปรตีน
  4. อะโวกาโด – ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ถึง 30 ชนิด
  5. สับปะรด – ช่วยต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  6. ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ – เช่น สตอเบอร์รี่ แบลคเบอร์รี่ ผลไม้กลุ่มนี้ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต
  7. แครนเบอร์รี่ – ช่วยป้องกันนิ่วในไต ต้านเชื้อไวรัส
  8. ผลไม้ตระกูลส้ม – ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด
  9. ผลไม้กลุ่มแตง – มีสรรพคุณสูงสุดในการล้างพิษให้กับร่างกาย
  10. แอปเปิ้ล – ช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร

Croissant plněný čokoládou.jpg



ครัวซอง (ฝรั่งเศส: croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้