วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553






มันแกวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แยมบีน (yam bean) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกและประเทศในแถบอเมริกากลาง ชาวสเปนได้นำผลผลิตโดยทั่วไปประมาณ ๑-๒ ตันต่อไร่
ราคาขายส่งประมาณ กกละ ๑.๐๐-๒.๐๐ บาท

ราคาขายปลีกประมาณ กก. ละ ๑.๕๐-๓.๐๐ บาท มาปลูกในฟิลิปปินส์ ปัจจุบันได้มีการปลูกมันแกวกันโดยทั่วไปในประเทศแถบร้อน ได้แก่ แอฟริกา ตะวันออก อินเดีย จีน และประเทศไทย เป็นต้นในประเทศไทยมีการปลูกมันแกวมานานแล้ว อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวญวนเป็นผู้นำเข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมีคนไทยนำเข้ามาจากประเทศเวียดนาม เข้ามาปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกชาวญวนว่า "แกว" จึงเรียกมันนี้ว่า มันแกว แต่ไม่มีการยืนยันข้อสันนิษฐานนี้

ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ มีปลูกมากอยู่ใน ๕๔ จังหวัด ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงไป ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น ภาคเหนือปลูกไม่มากนัก ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย ส่วนภาคใต้ปลูกมันแกวน้อยกว่าภาคอื่น ๆ มีปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดที่ปลูกมันแกวมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่เพาะปลูกถึง ๘,๓๖๔ ไร่ ให้ผลิตผล ๗,๑๑๕ ตัน (สถิติปี พ.ศ. ๒๕๑๑)





มันแกวเป็นไม้เถาเลื้อย ใบคล้ายใบถั่ว หัวอวบ หัวมีขนาดแตกต่างตามชนิดพันธุ์ ที่พบมากเป็นพวกหัวใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม. สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์
มันแกวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แพคีร์ริซุส อิโรซุส (แอล) เออร์บัน (Pachyrrhizus erosus (L) Urban.) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ต้นมีขนเป็นเถาเลื้อย ต้นอาจจะยาวถึง ๕.๕ เมตร ไม่แตกแขนง หัวอวบ มีขนาดใหญ่ โคนต้นเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วยใบย่อย ๓ ใบ ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกสีชมพูหรือขาว ช่อดอกยาว ๑๕-๓๐ ซม. ฝักมีขนาดยาวประมาณ ๗-๑๕ ซม. ฝักเมื่อแก่จะเรียบมี ๘-๑๐ เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลหรือแดง ลักษณะจัตุรัสแบน ๆ ต้นหนึ่ง ๆ มีหัวเดียว หัวอาจเป็นหัวเรียบ ๆ หรือเป็นพู มีรูปร่างแตกต่างกันมาก ส่วนมากหัวมีสี่พู ส่วนที่อยู่ใต้ดินมีอายุข้ามปี แต่ส่วนบนดิน คือ ต้นใบมีอายุปีเดียว

ชนิด
มันแกวที่ปลูกรับประทานมีชนิดใกล้เคียงกันกับ พี อิโรซุส (P. erosus) ดังกล่าวข้างต้นก็มี พี ทูเบอโรซุส (P. tuberosus) ซึ่งแตกต่างจาก พีอิโรซุส เล็กน้อย ที่มีใบย่อยใหญ่ ดอกสีขาว หัวมีขนาดใหญ่กว่า ฝักใหญ่กว่า มีความยาว ๒๕-๓๐ ซม. เมล็ดแบนใหญ่
มันแกวที่ปลูกมากในประเทศไทย ที่พบมี ๒ ชนิดใหญ่ ๆ คือพันธุ์หัวใหญ่ กับ พันธุ์หัวเล็กไม่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน นอกจากเรียกตามชื่อท้องที่ที่ปลูก เช่น มันแกวเพชรบุรีบ้าง มันแกวลพบุรีบ้าง มันแกวบ้านหมอบ้าง ทางแถบสระบุรีเรียกพันธุ์ "ลักยิ้ม" เพราะเมล็ดมีรอยบุ๋ม ทางจังหวัดมหาสารคามมีพันธุ์งาช้าง




องค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของมันแกว มีดังนี้
- หัว -หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ ๑.๔๗ ไขมันร้อยละ ๐.๐๙ แป้งร้อยละ ๙.๗๒ น้ำตาลร้อยละ ๒.๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ ๐.๕๐ เหล็ก (Fe) ๑.๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca) ๑๖.๐ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๕ มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัม

-ฝัก -ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖.๔ โปรตีนร้อยละ ๒.๖ ไขมันร้อยละ ๐.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๒.๙ เถ้าร้อยละ ๐.๗ แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัม ฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก ๑.๓ มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน ๐.๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๘ มิลลิกรัม

-เมล็ด- ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.๕-๒๘.๔ ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๖.๗ น้ำมันร้อยละ ๒๗.๓ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐.๐ เส้นใยร้อยละ ๗.๐ เถ้าร้อยละ ๓.๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ ๐.๑๒-๐.๔๓ และไอโซฟลาวาโนน และ ทุฟูราโน -๓- ฟีนิลดูมาริน

ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของมันแกว ส่วนใหญ่คือหัว หัวสดใช้เป็นอาหาร เป็นผลไม้และผัก หรือจะใช้หุงต้มปรุงอาหารก็ได้ หัวเล็ก ๆ หรือเศษของหัวใช้เลี้ยงสัตว์ ฝักอ่อนต้มรับประทานเป็นผัก เมล็ดใช้ทำพันธุ์ เมล็ดแก่ป่นหรือบดใช้เป็นยาฆ่าแมลงหรือใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝักแก่และเมล็ดแก่เป็นพิษต่อการบริโภคของคนและสัตว์ เนื่องจากเมล็ดมีน้ำมัน ซึ่งคล้ายน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย น้ำมันจากเมล็ดมันแกวกินได้ ต้นหรือเถามันแกวมีความเหนียว ในประเทศฟิจิ ใช้ทำแห อวน ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น