เปตอง
เปตอง (ฝรั่งเศส: Pétanque [pe.tɑ̃k]) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นโดยการโยนลูกบอลเหล็กให้เข้าใกล้ ลูกแก่น (cochonnet) ที่ทำจากไม้ให้มากที่สุด กีฬาชนิดนี้มักเล่นบนพื้นดินแข็งหรือพื้นกรวดละเอียด แต่ไม่เหมาะกับพื้นทราย
ประวัติศาสตร์
เปตองมีต้นกำเนิดจากประเทศกรีก ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวฝรั่งเศสกว่า 17 ล้านคนนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ในยามว่าง
ประวัติศาสตร์เปตองในประเทศไทย มีผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเล่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่เมื่อทรงประทับอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาเปตองในประเทศไทย
เปตองมีต้นกำเนิดจากประเทศกรีก ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวฝรั่งเศสกว่า 17 ล้านคนนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ในยามว่าง
ประวัติศาสตร์เปตองในประเทศไทย มีผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเล่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่เมื่อทรงประทับอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาเปตองในประเทศไทย
วิธีและเทคนิคการเล่นเปตอง
วิธีการจับลูกเปตอง 4 แบบ
วิธีการจับลูกเปตอง 4 แบบ
จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว
จับลูกเปตองแบบทั้ง 5 นิ้ว
จับลูกเปตองแบบคีบ นิ้วโป้งอยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง
จับลูกเปตองแบบขยุ้ม เหมาะกับคนมือเล็ก
จับลูกเปตองแบบทั้ง 5 นิ้ว
จับลูกเปตองแบบคีบ นิ้วโป้งอยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง
จับลูกเปตองแบบขยุ้ม เหมาะกับคนมือเล็ก
พื้นฐานความรู้เปตองเบื้องต้น
กีฬาเปตองสามารถจำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. การจับลูกเปตองอย่างไรให้ถูกวิธี
2. การปล่อยลูกเปตอง ปล่อยอย่างไรให้ลูกเปตองไปยังเป้าหมายที่เราต้องการ
3. การยกฐานกำลังจะทำอย่างไรให้มีกำลังที่จะโยนลูกเปตองให้ได้หลายๆระยะ
4. การเกาะลูกเปตองหรือการเข้าลูกเปตองจะทำอย่างไรให้เข้าลูกเปตองได้ทุกสภาพสนาม
1. การจับลูก – ส่วนใหญ่นักกีฬาเปตองที่เริ่มเล่นเปตองใหม่ๆ โดยที่ไม่มีโค้ชลอยแนะนำหรือมีโค้ชก็แล้วแต่มักจะจับลูกเปตองตามความถนัดมิได้จับลูกเปตองโดยหลักการ บางคนก็โชคดีที่บังเอิญไปจับลูกถูกกับสรีระตัวเองเข้าก็เลยเล่นเปตองได้ดี การจับลูกเปตองในลักษณะคว่ำมือนั้นมีอยู่ 4 วิธีด้วยกันคือ
1.1 จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว โดยไม่ใช้นิ้วโป้งสัมผัสกับลูก การจับลูกในลักษณะนี้จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นมีนิ้วที่ยาว และแข็งแรงที่สามารถจะจับลูกเปตองได้เกินครึ่งลูกขึ้นไป ถ้าบุคคลใดมิได้มีคุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็ให้ใช้แบบที่ 2 ต่อไป
1.2 การจับลูกในลักษณะใช้นิ้วทั้ง 5 นิ้ว สัมผัสลูกเปตองพร้อมๆ กัน การจับลูกเปตองในลักษณะนี้จะทำให้การจับเกิดการกระชับมากขึ้นกว่าแบบที่ 1 ก็เพราะว่านิ้วโป้งเป็นนิ้วที่แข็งแรงที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้งานจะทำให้บุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และเล็กสามารถเล่นเปตองได้ดีขึ้น การจับลักษณะนี้ให้นิ้วโป้งอยู่ใกล้นิ้วชี้ให้มากที่สุด
1.3 การจับในแบบที่ 2 ถ้าผู้เล่นยังไม่สามารถที่จะเล่นเปตองได้ทุกระยะก็ให้หันมาจับแบบที่ 3 ต่อไป การจับแบบที่ 3 นี้ให้ผู้เล่นถ่างนิ้วโป้งออกมาให้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าจับแบบคีบการจับในลักษณะนี้จะใช้กำลังจากนิ้วโป้งเป็นหลัก
1.4 การจับลูกในลักษณะของการขยุ่ม การจับลักษณะนี้ผู้เล่นจะถ่ายนิ้วออกทุกนิ้วโดยไม่ให้นิ้วติดกันการจับแบบนี้จะใช้กับบุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และมีมือที่เล็กมากๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับเด็กเล็กๆ เช่น เด็กอนุบาล หรือเด็กปฐมเป็นต้น
กีฬาเปตองสามารถจำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. การจับลูกเปตองอย่างไรให้ถูกวิธี
2. การปล่อยลูกเปตอง ปล่อยอย่างไรให้ลูกเปตองไปยังเป้าหมายที่เราต้องการ
3. การยกฐานกำลังจะทำอย่างไรให้มีกำลังที่จะโยนลูกเปตองให้ได้หลายๆระยะ
4. การเกาะลูกเปตองหรือการเข้าลูกเปตองจะทำอย่างไรให้เข้าลูกเปตองได้ทุกสภาพสนาม
1. การจับลูก – ส่วนใหญ่นักกีฬาเปตองที่เริ่มเล่นเปตองใหม่ๆ โดยที่ไม่มีโค้ชลอยแนะนำหรือมีโค้ชก็แล้วแต่มักจะจับลูกเปตองตามความถนัดมิได้จับลูกเปตองโดยหลักการ บางคนก็โชคดีที่บังเอิญไปจับลูกถูกกับสรีระตัวเองเข้าก็เลยเล่นเปตองได้ดี การจับลูกเปตองในลักษณะคว่ำมือนั้นมีอยู่ 4 วิธีด้วยกันคือ
1.1 จับลูกเปตองแบบ 4 นิ้ว โดยไม่ใช้นิ้วโป้งสัมผัสกับลูก การจับลูกในลักษณะนี้จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นมีนิ้วที่ยาว และแข็งแรงที่สามารถจะจับลูกเปตองได้เกินครึ่งลูกขึ้นไป ถ้าบุคคลใดมิได้มีคุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็ให้ใช้แบบที่ 2 ต่อไป
1.2 การจับลูกในลักษณะใช้นิ้วทั้ง 5 นิ้ว สัมผัสลูกเปตองพร้อมๆ กัน การจับลูกเปตองในลักษณะนี้จะทำให้การจับเกิดการกระชับมากขึ้นกว่าแบบที่ 1 ก็เพราะว่านิ้วโป้งเป็นนิ้วที่แข็งแรงที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้งานจะทำให้บุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และเล็กสามารถเล่นเปตองได้ดีขึ้น การจับลักษณะนี้ให้นิ้วโป้งอยู่ใกล้นิ้วชี้ให้มากที่สุด
1.3 การจับในแบบที่ 2 ถ้าผู้เล่นยังไม่สามารถที่จะเล่นเปตองได้ทุกระยะก็ให้หันมาจับแบบที่ 3 ต่อไป การจับแบบที่ 3 นี้ให้ผู้เล่นถ่างนิ้วโป้งออกมาให้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วกลาง หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าจับแบบคีบการจับในลักษณะนี้จะใช้กำลังจากนิ้วโป้งเป็นหลัก
1.4 การจับลูกในลักษณะของการขยุ่ม การจับลักษณะนี้ผู้เล่นจะถ่ายนิ้วออกทุกนิ้วโดยไม่ให้นิ้วติดกันการจับแบบนี้จะใช้กับบุคคลที่มีนิ้วมือที่สั้น และมีมือที่เล็กมากๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับเด็กเล็กๆ เช่น เด็กอนุบาล หรือเด็กปฐมเป็นต้น
ประวัติความเป็นมาของกีฬาเปตอง
เปตองเป็นกีฬาที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีบันทึกไว้ แต่หลักฐานการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศกรีซเมื่อประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน วิธีการเล่นคือ ใครจะโยนไอ้แม่นและไกลที่สุดกว่ากัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจ และเข้ายึดครองดินแอนชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันก็ได้รับเอาวัฒนธรรม และการเล่นกีฬาประเภทนี้ไปจากชนชาวกรีกด้วย ต่อมา ชาวโรมันได้ใช้การเล่นกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น
ครั้นต่อมา เมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกล หรือประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสการเล่นลูกบูลนี้จึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกบูลให้พอเหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ครั้งพอถึงสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศ และสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้เป็นไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะในพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโบเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจ พระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ให้มีการเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆไปได้เล่นกันอย่างเสมอภาคกันทุกคน การเล่นลูกนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลแบร-รอตรอง, บูลลิ-โยเน่ส์, บูลเจอร์-เดอร์ลอง และบูล-โปรวังซาล เป็นต้น
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ 1910 ณ ตำบลลาซิ-โอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชลด์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาล ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีฝีมือการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่เก่งที่สุดได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนขาสองข้างพิการ ไม่สามารถเล่นต่อไปได้จนน้องชายของเค้าเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเห็นจึงให้พี่ชายทดลองโดยโยนดูขณะนั่งอยู่บนรถเข็น โดยการเอาลูกเป้าโยนไว้ใกล้ๆ ประมาณ 3-4 เมตร นายจูลร์ เลอนัวร์ ก็สามารถโยนลูกบูลไปด้วยกำลังแขนและข้อมือได้ด้วยความแม่นยำ น้องชายของจึงได้ดัดแปลงแก้ไขกติการเล่นลูกบูลขึ้นมาใหม่ โดยการขีดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนอยู่ในวงกลม ให้ขาทั้งสองข้างยืนชิดติดกัน และไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล เกมส์นี้กำเนิดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่นี้เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ในที่สุดก็ได้ก่อตั้ง “สหพันธ์เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นใน ค.ศ 1938 โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นนับเป็นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เข้าเป็นสมาชิก ลูกเปตองที่ใช้เล่นกันก็ทันสมัยมากขึ้น เพราะมีผู้คิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งกว่าเดิม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้จึงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ลิโยเน่ส์
2. โปรวังซาล (วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นกันในปัจจุบัน)
ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย เกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย นิยมเล่นกันมาก เช่น ฝรั่งเศส, สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมันตะวันตก, เวเนซูเอลา, อังกฤษ, ฮอลแลนด์, สเปน, สวีเดน, แคนาดา, ตูนีเซีย, อัลจีเรีย, โมรอคโค, มาดากัสกาฯลฯ สำหรับทวีปเอเชียประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย และกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน ไทยเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์เปตองนานาชาติ นอกจากนั้นยังมีประเทศเพื่อบ้านในทวีปเอเชียเล่นกันเกือบทุกประเทศในปัจจุบัน
คำว่า “PETANQUE” นี้มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “บิเยส์ ตองแกร์” ซึ่งมีความหมายว่า “ให้ยืนสองเท้าชิดติดกัน” ซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับ “บูลโปรวังซาล” ที่ต้องวิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล
ครั้นต่อมา เมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกล หรือประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสการเล่นลูกบูลนี้จึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกบูลให้พอเหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ครั้งพอถึงสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศ และสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้เป็นไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะในพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโบเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจ พระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ให้มีการเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆไปได้เล่นกันอย่างเสมอภาคกันทุกคน การเล่นลูกนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลแบร-รอตรอง, บูลลิ-โยเน่ส์, บูลเจอร์-เดอร์ลอง และบูล-โปรวังซาล เป็นต้น
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ 1910 ณ ตำบลลาซิ-โอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชลด์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาล ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีฝีมือการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่เก่งที่สุดได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนขาสองข้างพิการ ไม่สามารถเล่นต่อไปได้จนน้องชายของเค้าเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเห็นจึงให้พี่ชายทดลองโดยโยนดูขณะนั่งอยู่บนรถเข็น โดยการเอาลูกเป้าโยนไว้ใกล้ๆ ประมาณ 3-4 เมตร นายจูลร์ เลอนัวร์ ก็สามารถโยนลูกบูลไปด้วยกำลังแขนและข้อมือได้ด้วยความแม่นยำ น้องชายของจึงได้ดัดแปลงแก้ไขกติการเล่นลูกบูลขึ้นมาใหม่ โดยการขีดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนอยู่ในวงกลม ให้ขาทั้งสองข้างยืนชิดติดกัน และไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล เกมส์นี้กำเนิดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่นี้เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ในที่สุดก็ได้ก่อตั้ง “สหพันธ์เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นใน ค.ศ 1938 โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นนับเป็นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เข้าเป็นสมาชิก ลูกเปตองที่ใช้เล่นกันก็ทันสมัยมากขึ้น เพราะมีผู้คิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งกว่าเดิม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้จึงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ลิโยเน่ส์
2. โปรวังซาล (วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นกันในปัจจุบัน)
ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย เกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย นิยมเล่นกันมาก เช่น ฝรั่งเศส, สวิสเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมันตะวันตก, เวเนซูเอลา, อังกฤษ, ฮอลแลนด์, สเปน, สวีเดน, แคนาดา, ตูนีเซีย, อัลจีเรีย, โมรอคโค, มาดากัสกาฯลฯ สำหรับทวีปเอเชียประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย และกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน ไทยเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์เปตองนานาชาติ นอกจากนั้นยังมีประเทศเพื่อบ้านในทวีปเอเชียเล่นกันเกือบทุกประเทศในปัจจุบัน
คำว่า “PETANQUE” นี้มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “บิเยส์ ตองแกร์” ซึ่งมีความหมายว่า “ให้ยืนสองเท้าชิดติดกัน” ซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับ “บูลโปรวังซาล” ที่ต้องวิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล
ประวัติความเป็นมาในประเทศไทย
กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก และนำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนได้รู้จักอย่างเป็นทางการคนแรก แต่ขณะนั้นยังขาดอุปกรณ์การเล่นเปตอง (ลูกบูล) จึงได้ปรึกษา และชักชวนนายดนัย ตรีทัศนาถาวร และนายชัยรัตน์ คำนวณ ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น เป็นผู้ลงทุนสั้งลูกเปตองเข้ามาจำหน่ายและเผยแพร่ในประเทศไทย
แต่เปตองเป็นกีฬาที่ใหม่อยู่มากในเมืองไทย ยังมีคนรู้จักน้อยลูกเปตองยังจำหน่ายไม่ได้ แต่นายดนัย ตรีทศถาวร ซึ่งเป็นผู้ที่มองการไกล และเห็นประโยชน์ และความสำคัญของกีฬาเปตอง จึงได้ทำการจ่ายแจกให้แก่ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการเชิญชวนให้หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้ดูบ้าง
ต่อมานายจันทร์ โพยหาญ ได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากันนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ ความสามารถในเรื่องของกีฬาเปตองเป็นอย่างดี และอีกท่านยังไม่ได้กล่าวนาม ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตองและโปรวังซาลแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก
แต่ก็ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังขาดผู้สนับสนุน จนคิดว่าจะล้มเลิกความมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ต่อไปอีก แต่โชคยังเข้าข้างผู้ที่มุ่งหวังกระทำความดีเสมอ ตราบเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินที่เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ 2521 นายจันทร์ โพยหาญ ได้นำอุปกรณ์กีฬาเปตองไปแนะนำวิธีการเล่นให้แก่ข้าราชบริพาร และพระองค์ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับสั่งว่า “พระองค์เคยเล่นกีฬาประเภทนี้ตั้งแต่พงองค์พระชนมายุ 30 กว่า กีฬาเปตองมีประโยชน์มากได้ทั้งบริหารร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพดี และสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะซึ่งมีประโยชน์มากมายสำหรับคนไทย ขอให้นายจันทร์ โพยหาญ จงทำหน้าที่ต่อไป พระองค์ช่วงส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง”
วันที่ 9 ตุลาคม 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมเปตอง และโปรวังซาลแห่งประเทศไทย ไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2530 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตอง และโปรวังซาลเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อม่ได้แก้ไขข้อบังคับสหพันธ์ฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยเป็น “สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 และได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนสมาคมฯ ประจำปีจากรัฐบาลตั้งแต่ปี ค.ศ 2538 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
แต่เปตองเป็นกีฬาที่ใหม่อยู่มากในเมืองไทย ยังมีคนรู้จักน้อยลูกเปตองยังจำหน่ายไม่ได้ แต่นายดนัย ตรีทศถาวร ซึ่งเป็นผู้ที่มองการไกล และเห็นประโยชน์ และความสำคัญของกีฬาเปตอง จึงได้ทำการจ่ายแจกให้แก่ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการเชิญชวนให้หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้ดูบ้าง
ต่อมานายจันทร์ โพยหาญ ได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากันนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ ความสามารถในเรื่องของกีฬาเปตองเป็นอย่างดี และอีกท่านยังไม่ได้กล่าวนาม ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตองและโปรวังซาลแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก
แต่ก็ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังขาดผู้สนับสนุน จนคิดว่าจะล้มเลิกความมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ต่อไปอีก แต่โชคยังเข้าข้างผู้ที่มุ่งหวังกระทำความดีเสมอ ตราบเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินที่เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ 2521 นายจันทร์ โพยหาญ ได้นำอุปกรณ์กีฬาเปตองไปแนะนำวิธีการเล่นให้แก่ข้าราชบริพาร และพระองค์ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับสั่งว่า “พระองค์เคยเล่นกีฬาประเภทนี้ตั้งแต่พงองค์พระชนมายุ 30 กว่า กีฬาเปตองมีประโยชน์มากได้ทั้งบริหารร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพดี และสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะซึ่งมีประโยชน์มากมายสำหรับคนไทย ขอให้นายจันทร์ โพยหาญ จงทำหน้าที่ต่อไป พระองค์ช่วงส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง”
วันที่ 9 ตุลาคม 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมเปตอง และโปรวังซาลแห่งประเทศไทย ไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2530 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตอง และโปรวังซาลเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อม่ได้แก้ไขข้อบังคับสหพันธ์ฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยเป็น “สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 และได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนสมาคมฯ ประจำปีจากรัฐบาลตั้งแต่ปี ค.ศ 2538 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น