ตรุษจีน (จีนตัวเต็ม: 春節; จีนตัวย่อ: 春节; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและ ประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่ มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิม ฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649
ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม และอาจมีบรรพบุรุษร่วมกันที่มีเทศกาลตรุษคล้ายกันนอกเอเชียตะวันออก เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์
ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลีชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์
ตรุษจีนในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
- วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
- วันไหว้
- ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
- ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
- ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
- วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม" (橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
ตรุษจีนในภูเก็ต
ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนและจีนช่องแคบ(เปอรานากัน) จะมีระยะวันตรุษจีนทั้งสิ้นรวม 9 วันนับตั้งแต่ขึ้นปีใหม่จะต่างกับชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันตรุษจีนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 โดยวันตรุษจีนของชาวภูเก็ตจะสิ้นสุดลงเมื่อหลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 หรือ วันป่ายทีก้องไหว้เทวดา และ จะถือประเพณีปฏิบัติไหว้อยู่ 6 วัน ได้แก่ก่อนตรุษจีนไหว้ 2 วัน และ หลังตรุษจีนไหว้ 4 วัน คือ
- วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์
- ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
- ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง
- ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
- วันไหว้บรรพชน
- คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
- ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต้ และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน
- เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
- บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ
- จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ
- โฮ่เฮียตี่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ
- หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน
- ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ
- เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง (ป่ายสินเทียนก๊วน/拜神天官)
- เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน (ป่ายจ้อกง/拜祖公)
- เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่เฮียตี่ บรรดาผีไม่มีญาติ (ป่ายโฮ่เฮียตี่/拜好兄弟)
- เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน
- เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
- ทีก้อง
- หมูต้ม 1 ชิ้น
- หมี่เหลืองดิบ
- ปูต้ม
- กุ้งต้ม
- หมึกแห้ง
- สุราขาวจีน
- เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)
- เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล
- หัวหมู 1 หัว
- หมี่เหลืองดิบ
- ปูต้ม
- กุ้งต้ม
- หมึกแห้ง
- สุราขาวจีน
- ไก่ต้มมีหัว
- เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง
- หมี่เหลืองดิบ
- ปูต้ม
- กุ้งต้ม
- หมึกแห้ง
- สุราขาวจีน
- อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป
- ทีก้อง
- เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน
- ผลไม้ 3 - 7 ชนิด
- ขนมหวาน
- ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )
- ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)
- อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)
- บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)
- แป๊ะทงโก๊
- ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)
- อาหารคาว
- ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)
- โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)
- ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)
- ปลาทอดมีหัวมีหาง 1 ตัว
- ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)
- ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)
- แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง
- ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก
- โปเปี๊ยะสด
- โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม
- ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)
- ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ
- เต๋ (น้ำชา) 5 จอก
- จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว
- สุราขาว 5 จอก
- เวลาเย็นไหว้ โฮ่เฮียตี่
- เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
- คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
- ไหว้วันขึ้นปีใหม่
- วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน
- วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ
- ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
- ผลไม้
- เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)
- โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)
- น้ำชา
- กระดาษไหว้เจ้า
- ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
- วันป้ายจ่ายสินเอี๋ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย
- วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ
- วันป่ายทีก้องแซ (拜天公) ไหว้เทวดา วันประสูติหยกอ๋องซ่งเต้
- วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ หง่อซิ่ว หรือ เครื่องน้ำตาลทำเป็นรูป 5 ชนิด และ ต้นอ้อย มีความเชื่อว่ามีครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงชาวฮกเกี้ยนทุกรุกรานจาก ญี่ปุ่นจึงพากันไปหลบแอบในดงอ้อย จนญี่ปุ่นกลับไป และตรงกับวันป่ายทีก้องพอดีชาวฮกเกี้ยนเลยเชื่อว่าเป็นเพราะหยกอ๋องซ่งเต้ช่วยชีวิตเอาไหว้จึงนำอ้อยมาไหว้ด้วย
ประเพณีปฏิบัติ
- สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น