วันกองทัพไทย
วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
วันกองทัพเรือ
ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี
ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ
อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆ ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ
ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระองค์ทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือ ต่อมาในปี พ.ศ.2434 ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น และในปี พ.ศ.2440 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ.2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) มีนายนาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๓ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า วันที่ 20 พฤศจิกายน ร.ศ.125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า
ทางราชการทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคล และองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ
อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆ ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ
ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระองค์ทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือ ต่อมาในปี พ.ศ.2434 ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น และในปี พ.ศ.2440 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ.2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) มีนายนาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๓ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า วันที่ 20 พฤศจิกายน ร.ศ.125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า
ทางราชการทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคล และองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ
วันกองทัพอากาศ
27 มีนาคม
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยการคุกคามที่จะเกิดขึ้นดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงตั้ง "แผนการบิน" การบินของไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีนักบินเพียง 3 คน ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิก และร้อยโทหลวงทิพย์เกตุทัด ทั้งสามท่านได้สำเร็จการศึกษาแล้ว ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับคือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสานศิลปสิทธ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และทั้ง 3 ท่าน นี้ได้รับการยกย่องจากกองทัพอากาศให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"
การบินไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีเพียงนักบิน 3 คน และเครื่องบิน 8 ลำ โดยใช้สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) เป็นสนามบินต่อมา ได้ย้ายมาที่ตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ เนื่องจากมีความเหมาะสม และความสะดวกมากกว่า ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหมได้ยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ดังนั้นกองทัพอากาศจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ" กระทรวงกลาโหม ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหาร เป็น "กรมทหารอากาศ" ในปี พ.ศ.2464 และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "กรมทหารอากาศ" นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวเป็นสีเทา และมีการกำหนดยศทหาร
ต่อมาการทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" โดยมีผุ้บัญชาการทหารคนแรกแห่งกองทัพอากาศคือ นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ กองกำลังทางอากาศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติ ในการเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ และการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2460 ทำให้ประเทศชาติ ได้รับเกียรติยกย่องเป็นอันมาก ดังนั้นราชการจึงได้ยกฐานะ "กองบินทหารบก" เป็นกรมอากาศยานทหารบก นอกจากการพัฒนากองกำลังในด้านการสงครามแล้วนั้น กองกำลังทางอากาศได้มีการพัฒนาประเทศชาติในกิจการหลายๆ ด้าน เช่น การบิน ส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น
การบินไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีเพียงนักบิน 3 คน และเครื่องบิน 8 ลำ โดยใช้สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) เป็นสนามบินต่อมา ได้ย้ายมาที่ตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ เนื่องจากมีความเหมาะสม และความสะดวกมากกว่า ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหมได้ยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ดังนั้นกองทัพอากาศจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ" กระทรวงกลาโหม ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหาร เป็น "กรมทหารอากาศ" ในปี พ.ศ.2464 และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "กรมทหารอากาศ" นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวเป็นสีเทา และมีการกำหนดยศทหาร
ต่อมาการทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" โดยมีผุ้บัญชาการทหารคนแรกแห่งกองทัพอากาศคือ นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ กองกำลังทางอากาศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติ ในการเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ และการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2460 ทำให้ประเทศชาติ ได้รับเกียรติยกย่องเป็นอันมาก ดังนั้นราชการจึงได้ยกฐานะ "กองบินทหารบก" เป็นกรมอากาศยานทหารบก นอกจากการพัฒนากองกำลังในด้านการสงครามแล้วนั้น กองกำลังทางอากาศได้มีการพัฒนาประเทศชาติในกิจการหลายๆ ด้าน เช่น การบิน ส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น