วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554




ประวัติของชาอูหลง

ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถ้านับย้อนหลังไปก็รวมระยะเวลา ได้กว่า 4,000 ปี กล่าวคือ เมื่อ 2737 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกพบโดยจรรดิพรรดิ นามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิต และนักสมุนไำพร เป็นคนรักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนง กำลังพักผ่อนอยู่ที่ใต้ต้นชา และกำลังต้มน้ำดื่มอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีลมโบกกิ่งไม้เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่ม ก็เิกิดความรู้สึกกระปรี่กระเปร่าขึ้น
พอมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านได้รู้ถึงสรรพคุณด้านเป็นยา ในสมัยนั้น จะดื่มชา้เป็นยา เป็นเครื่อง บำรุงกำลัง พอชาได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5 ความนิยมใบชาในประเทศจีนเิพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปลูกชาตามแนวเทือกเขา บริเวณหุบเขาปม่น้ำแยงซีเกียง ชาจะ้ผลิตในรูปของการอัีดแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน และะจากนั้นก็นำมากระ แทก จากนั้นนำไปผสมกับลูกพลัม ลักษณะที่ได้จะข้นๆเหนียวๆ จากนั้นนำไปเทลงบนแม่พิมพ์ และนำไปอบให้แห้ง ได้ชาออกมาเป็นแผ่น เมื่อนำมาเตรียมเป็นน้ำชา จะนำไปผิงไฟให้มันอ่อนตัว จนสามารถที่จะบดเป็นผงได้ จากนั้นก็นำไปผสมน้ำต้ม สมัยนั้น เริ่มมีการนำชาไปถวายเป็นของขวัญแด่ จักรพรรดิจีน
สมัยราชววศ์ถัง ถือเป็นยุดทองของชา(ค.ศ.618 - ค.ศ. 906) ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำัลังเพียงอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ ในสมัยนี้ขายังเป็นรูปแบบของการอัดเป็นแผ่นอยู่ แต่ในขั้นตอนการเตรียมชา ได้มีการเติมเกลือลงไป เพื่อให้ชามีรสชาติเ้ข้มข้นขึ้น และมีการเต่งรสอื่นๆซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องเทศ เช่น หัวหอมหวาน ขิง เปลือกส้ม กานพลู และสารแหน่ สมัยราชวงศ์ซ้อง(ค.ศ. 960 - ค.ศ.1279) ชาได้เิติมเ้ครื่องเทศแบบในสมัยถัง แต่จะเพิ่ม รสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
มาถึงราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368 - 1644) ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัีดเป็นแผ่น แต่มีการรวมรวบใบชา นำมานึ่งและอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป แรกเริ่มเป็นชาเขียว เมื่อการค้าพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่อง ก็มีการพัฒนาการบวนการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพของใบชาให้นานขึ้น โดนได้คิดค้นกระบวนการที่เรียกว่าการหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็น ที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีนมีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้่ สมัยนั้นตลาดยุโรปต้องการมาก


ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย
ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชา แต่ก็ไม่้มีปรากฏหลักฐานว่าได้นำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่าน ลาลูแบร์ ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้่ว่า คนไทยได้รู้จักการดิ่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยในสมัยนั้น ดื่มแบบชาจีนใส่้น้ำตาล สำหรับการปลูกขาในประทศไทย แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ทางภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และตาก จากการสำรวจของ คณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชา พบว่า แหล่งชาป่าที่บ้านไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเ้ใณติดต่อชายแดนพม่า ต้นชาที่พบเป็นชาอัสสัม (Assam Tea) อายุหลายร้อยปี ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกว่า ชาพันปี เข้าใจ ว่าต้นชาขนาด ใหญ่สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเ้ขาสูงของจังหวัดแพร่และน่าน โดยสวนชา ส่วนใหญ่ทางภาคเหนื่อ จะเป็นสวนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม่ชนิดอื่นออก เหลือไว้แต่ต้นชา ที่ชาวบ้านิยมเรียกกันว่า ต้นเมี่ยง จำนวน ต้น/ไร่ ต่ำ ประมาณ 50 - 200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดได้เ๊พียง 100 - 140 กิโลกรัม ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือ โดยการรูดใบทั้งกิ่ง แล้วนำมาผลิตเป็นเมี่ยง ปัจจุบันในช่วงที่ราคาเมี่ยงสูง ชาว บ้านจะนำมาผลิตเป็นเี่มี่ยง แต่เมื่อใบเมี่ยงราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำส่งให้กับโรงงานขนาดเล็ก ทำให้ชาจีนที่ได้มีคุณภาพต่ำ
การพัฒนาอุตาสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยนายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้ง บริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็ก ขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัีดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้่านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหา อุปสรรคหลายอย่าง เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ึความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชา และการตัดแต่งกิ่งใบชา ส่วนที่อำเภอฝาง นั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชา ชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูล พุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยการเริ่มปลูกชวนชา้เ็ป็นของตัวเอง ใช้เมล็ดชาพื้นบ้านมาเพาะ สวนชาตั้งอยู่ที่แก่งพันเท้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกมาที่ป้ายกืดและบ้า่นช้าง ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอ สัมปทานทำสวนชา จากกรมป่าไม้ จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านยางห้วยตาก อ.แม่่แตง จ.เชียงใหม่ ในนามของ บริษัท ชาระมื้งค์ และทำสวนชา ที่ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ในนามของ บริษัทชาบุญประทาน จำกัด ชาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มสนใจการผลิดมากขึ้น โดยในปี 2543 บริษัท ชาระมิงค์ ได้ขาย สัมปทานสวนชา ใหเ้แก่บริษัทสยาม จากนั้นชาสยามได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียง ปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรที่ผลิต เป็นชาฝรั่ง ในนาม ชาลิปตัน มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับภาครัฐนั้น การส่งเสริมและการพัฒนาอุตสาหกรรม เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร ( ม.ล. เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (พระคุณช่วง เกษตรศิลปกร) และหัวหน้ากองพืชสวน(ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางสำรวจแหล่งที่พอจะทำการเพาะปลูฏและปรับปรุงชา ที่ อ.แม่ฝาง จ.เชียงใหม่ ในที่สุด ได้เลือกบริเวณ โป่งน้ำร้อน เป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็น สถานีทดลองพืชสวนฝาง มีนายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานี ระยะแรกเมล็ดพันธุ์ฺที่นำมาปลูก ได้ ทำการเก็บมาจาก ท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวย ที่มีต้นชาขึ้นอยู่ ต่อมามีการนำชาำัพันธุ์ดีมาจากประเทศ อินเดีย ใต้หวัน และญี่ปุ่้น มาทำการทดลองปลูก เื่พื่อทำ การวิจัยแลเค้นคว้าต่อไป ในส่วนของกรมเกษตรที่สูง หลายแห่ง เช่น เกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอน จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 ฝ่ายรักษาึความมั่นคงแห่งชาติ ได้เริ่มโครงการปลูกชา ในพื่นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอู แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอน ถ้ำเปรัียบหลวง และแม่สลอง โครงการ นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน จัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสม มาให้ทำการทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญ มาถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วย ต่อมาอีก 3 ปี มีการสร้างแปลงสาธิตการปลกชา ที่บ้าน แม่สลอง หนองอุ และแกน้อย ในปี 2525 จึงมีการจัดตั้งสหกรณ์ใยชาแม่สลอง อ.แมจัน จ.เีชียงราย ทำให้ สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือ และการแนะนำด้านต่างๆ
ในปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรวส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนยเพิ่มผูล์ผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชา และผู้ ประ กอบการ ใบ ชาจำนวน 12 คน ณ. ประเทศไต้หวัน และศรีลังกา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาเดื่อนตุลาคม 2526 ศูนย์เพิ่มพูลผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน ชาจีนมาจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือ นายซูหยิง เลียน และนายจางเหลียนฟู มาให้คำแนะนำทางด้นการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน 2527 ศูนย์เพิ่มพูลผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่ง มาจากประเทศศีรีลังกา คือ นายเจซี รามานา เคน มาให้คำแนะนำและสาธิต การผลิตชา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมาในปี 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาสำรววจศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชา ซึ่ง ทาง F.A.o. ได้ส่ง Dr.A.k.Arich ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่ง เข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และส่งนักวิชาการของกรมการเกษตรไปดูงานด้านการปลูก และการผลิตชาฝรั่ง ที่ประเทศอินเดีย การวิจัยในส่วนทีเกี่ยวข้องกับการปลูกและผลิตชา นอกจากกรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบโดยตรงแล้ว ในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2520 งานเกษตรที่สูง ม.เกษตรศาตร์โดยอาจารย์ปวิณ ปณศรี ได้ขอผู่เชี่ยวชาญจากสถานีทดลองชาไต้หวัน เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชาใน ประเทศไทย เป็นเวลา 3 เดือน ในคณะเดียวกัน ทาง ม.เชียงใหม่ ก็ได้เริ่มงานสรีรวิทยาของชา ต่อมาในปี 2530 สาขาไม้ผลของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ได้รับงบสนับสนุนจากงบประมาณวิจัยโครงการหลวง ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาชาขึ้น วัตถุประสงค์หลักเพื่อทำการคัดเลือก ปรับปรุงพันธ์ชาจีน ศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ผลิต ต้นกล้าชาพันธุ์ดีและปรับปรุงกระบวนการผลิตชาให้กับศูนย์พัฒนา โครงการหลวงต่างๆ ซึ่งอีก 3 ปีต่อมา ได้มีการอนุมัติจัดตั้งสถานีวิจัยชาขึ้น ที่บ้านห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ปัจจุบันทางสถานีได้ทำการผลิตชาจีนพันธุ์ห้วยน้ำขุ่น เบอร์ 3 (HK.NO3) ที่คัดเลือกจากแม่พันธุ์ชาจีนลูกผสม ของไต้หวัน เพื่อทำการแจกจ่าย ให้กับเกษตรกรในโครงการ และหน่วยงานทีสนใจ
ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการส่งเสริมเกษตรกรปลูกชามาตั้งแต่ 2533 โดยจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาพันธุ์ดีที่ศูนย์ส่งเสริมการผลิต พันธุ์พืชสวน เชียงราย จัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุึ์ดีเป็นสวนแก่เกษตรกร และส่งเสริมการปรับปรุงสวนชาวเขา โดยส่งเสริมให้เกษตรกร ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ดูแลรักษา และ ปลูกชาเสริมในสวนแปลงชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและผลิตชา แก่เกษตรกรผู้สนใจ จัดตั้งกลุ่มผ๔้ปลูกชา และประสานงานการตลาดระหว่าง เกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น