วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำวันเกิด

เกิดวันอาทิตย์

ต้นไม้ประจำวันเกิด เป็นต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม

ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิด เป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์

คนเกิดวันนี้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือล้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย


เกิดวันจันทร์

ต้นไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม เธอจะยิ่งโชคดี

ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน


เกิดวันอังคาร

ต้นไม้ที่แสนดีของเธอคือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โถ ออกดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของเธอออกดอกมากๆ บอกได้ว่าเธอกำลังมีความสุข

ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้


เกิดวันพุธ

ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นเธอควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองเธอได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรักสันติภาพ

ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชนิดนี้ หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน


เกิดวันพฤหัสบดี

ต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้นบานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลเธอ

ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ


เกิดวันศุกร์

ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่วันศุกร์คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน

ส่วนดอกไม้ของเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือ หรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอเลตว่า "ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ" คนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอน ไปครองอีกดอกหนึ่ง


เกิดวันเสาร์

จะมีต้นไม้พวกต้นกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ประจำวันเกิด

ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ
กระดังงาไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน


สรรพคุณ :
ดอกแก่จัด - ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
ใบ, เนื้อไม้ - ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
ใช้ดอกกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย
การแต่งกลิ่นอาหาร ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl benzoate p-totyl methylether, methylether, benzyl acetate




ประวัติของชาอูหลง

ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถ้านับย้อนหลังไปก็รวมระยะเวลา ได้กว่า 4,000 ปี กล่าวคือ เมื่อ 2737 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกพบโดยจรรดิพรรดิ นามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิต และนักสมุนไำพร เป็นคนรักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนง กำลังพักผ่อนอยู่ที่ใต้ต้นชา และกำลังต้มน้ำดื่มอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีลมโบกกิ่งไม้เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่ม ก็เิกิดความรู้สึกกระปรี่กระเปร่าขึ้น
พอมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านได้รู้ถึงสรรพคุณด้านเป็นยา ในสมัยนั้น จะดื่มชา้เป็นยา เป็นเครื่อง บำรุงกำลัง พอชาได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5 ความนิยมใบชาในประเทศจีนเิพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปลูกชาตามแนวเทือกเขา บริเวณหุบเขาปม่น้ำแยงซีเกียง ชาจะ้ผลิตในรูปของการอัีดแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน และะจากนั้นก็นำมากระ แทก จากนั้นนำไปผสมกับลูกพลัม ลักษณะที่ได้จะข้นๆเหนียวๆ จากนั้นนำไปเทลงบนแม่พิมพ์ และนำไปอบให้แห้ง ได้ชาออกมาเป็นแผ่น เมื่อนำมาเตรียมเป็นน้ำชา จะนำไปผิงไฟให้มันอ่อนตัว จนสามารถที่จะบดเป็นผงได้ จากนั้นก็นำไปผสมน้ำต้ม สมัยนั้น เริ่มมีการนำชาไปถวายเป็นของขวัญแด่ จักรพรรดิจีน
สมัยราชววศ์ถัง ถือเป็นยุดทองของชา(ค.ศ.618 - ค.ศ. 906) ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำัลังเพียงอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ ในสมัยนี้ขายังเป็นรูปแบบของการอัดเป็นแผ่นอยู่ แต่ในขั้นตอนการเตรียมชา ได้มีการเติมเกลือลงไป เพื่อให้ชามีรสชาติเ้ข้มข้นขึ้น และมีการเต่งรสอื่นๆซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องเทศ เช่น หัวหอมหวาน ขิง เปลือกส้ม กานพลู และสารแหน่ สมัยราชวงศ์ซ้อง(ค.ศ. 960 - ค.ศ.1279) ชาได้เิติมเ้ครื่องเทศแบบในสมัยถัง แต่จะเพิ่ม รสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
มาถึงราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368 - 1644) ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัีดเป็นแผ่น แต่มีการรวมรวบใบชา นำมานึ่งและอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป แรกเริ่มเป็นชาเขียว เมื่อการค้าพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่อง ก็มีการพัฒนาการบวนการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพของใบชาให้นานขึ้น โดนได้คิดค้นกระบวนการที่เรียกว่าการหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็น ที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีนมีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้่ สมัยนั้นตลาดยุโรปต้องการมาก


ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย
ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชา แต่ก็ไม่้มีปรากฏหลักฐานว่าได้นำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่าน ลาลูแบร์ ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้่ว่า คนไทยได้รู้จักการดิ่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยในสมัยนั้น ดื่มแบบชาจีนใส่้น้ำตาล สำหรับการปลูกขาในประทศไทย แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ทางภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และตาก จากการสำรวจของ คณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชา พบว่า แหล่งชาป่าที่บ้านไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเ้ใณติดต่อชายแดนพม่า ต้นชาที่พบเป็นชาอัสสัม (Assam Tea) อายุหลายร้อยปี ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกว่า ชาพันปี เข้าใจ ว่าต้นชาขนาด ใหญ่สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเ้ขาสูงของจังหวัดแพร่และน่าน โดยสวนชา ส่วนใหญ่ทางภาคเหนื่อ จะเป็นสวนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม่ชนิดอื่นออก เหลือไว้แต่ต้นชา ที่ชาวบ้านิยมเรียกกันว่า ต้นเมี่ยง จำนวน ต้น/ไร่ ต่ำ ประมาณ 50 - 200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดได้เ๊พียง 100 - 140 กิโลกรัม ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือ โดยการรูดใบทั้งกิ่ง แล้วนำมาผลิตเป็นเมี่ยง ปัจจุบันในช่วงที่ราคาเมี่ยงสูง ชาว บ้านจะนำมาผลิตเป็นเี่มี่ยง แต่เมื่อใบเมี่ยงราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำส่งให้กับโรงงานขนาดเล็ก ทำให้ชาจีนที่ได้มีคุณภาพต่ำ
การพัฒนาอุตาสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยนายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้ง บริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็ก ขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัีดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้่านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหา อุปสรรคหลายอย่าง เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ึความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชา และการตัดแต่งกิ่งใบชา ส่วนที่อำเภอฝาง นั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชา ชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูล พุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยการเริ่มปลูกชวนชา้เ็ป็นของตัวเอง ใช้เมล็ดชาพื้นบ้านมาเพาะ สวนชาตั้งอยู่ที่แก่งพันเท้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกมาที่ป้ายกืดและบ้า่นช้าง ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอ สัมปทานทำสวนชา จากกรมป่าไม้ จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านยางห้วยตาก อ.แม่่แตง จ.เชียงใหม่ ในนามของ บริษัท ชาระมื้งค์ และทำสวนชา ที่ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ในนามของ บริษัทชาบุญประทาน จำกัด ชาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มสนใจการผลิดมากขึ้น โดยในปี 2543 บริษัท ชาระมิงค์ ได้ขาย สัมปทานสวนชา ใหเ้แก่บริษัทสยาม จากนั้นชาสยามได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียง ปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรที่ผลิต เป็นชาฝรั่ง ในนาม ชาลิปตัน มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับภาครัฐนั้น การส่งเสริมและการพัฒนาอุตสาหกรรม เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร ( ม.ล. เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (พระคุณช่วง เกษตรศิลปกร) และหัวหน้ากองพืชสวน(ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางสำรวจแหล่งที่พอจะทำการเพาะปลูฏและปรับปรุงชา ที่ อ.แม่ฝาง จ.เชียงใหม่ ในที่สุด ได้เลือกบริเวณ โป่งน้ำร้อน เป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็น สถานีทดลองพืชสวนฝาง มีนายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานี ระยะแรกเมล็ดพันธุ์ฺที่นำมาปลูก ได้ ทำการเก็บมาจาก ท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวย ที่มีต้นชาขึ้นอยู่ ต่อมามีการนำชาำัพันธุ์ดีมาจากประเทศ อินเดีย ใต้หวัน และญี่ปุ่้น มาทำการทดลองปลูก เื่พื่อทำ การวิจัยแลเค้นคว้าต่อไป ในส่วนของกรมเกษตรที่สูง หลายแห่ง เช่น เกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอน จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 ฝ่ายรักษาึความมั่นคงแห่งชาติ ได้เริ่มโครงการปลูกชา ในพื่นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอู แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอน ถ้ำเปรัียบหลวง และแม่สลอง โครงการ นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน จัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสม มาให้ทำการทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญ มาถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วย ต่อมาอีก 3 ปี มีการสร้างแปลงสาธิตการปลกชา ที่บ้าน แม่สลอง หนองอุ และแกน้อย ในปี 2525 จึงมีการจัดตั้งสหกรณ์ใยชาแม่สลอง อ.แมจัน จ.เีชียงราย ทำให้ สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือ และการแนะนำด้านต่างๆ
ในปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรวส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนยเพิ่มผูล์ผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชา และผู้ ประ กอบการ ใบ ชาจำนวน 12 คน ณ. ประเทศไต้หวัน และศรีลังกา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาเดื่อนตุลาคม 2526 ศูนย์เพิ่มพูลผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน ชาจีนมาจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือ นายซูหยิง เลียน และนายจางเหลียนฟู มาให้คำแนะนำทางด้นการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน 2527 ศูนย์เพิ่มพูลผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่ง มาจากประเทศศีรีลังกา คือ นายเจซี รามานา เคน มาให้คำแนะนำและสาธิต การผลิตชา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมาในปี 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาสำรววจศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชา ซึ่ง ทาง F.A.o. ได้ส่ง Dr.A.k.Arich ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่ง เข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และส่งนักวิชาการของกรมการเกษตรไปดูงานด้านการปลูก และการผลิตชาฝรั่ง ที่ประเทศอินเดีย การวิจัยในส่วนทีเกี่ยวข้องกับการปลูกและผลิตชา นอกจากกรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบโดยตรงแล้ว ในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2520 งานเกษตรที่สูง ม.เกษตรศาตร์โดยอาจารย์ปวิณ ปณศรี ได้ขอผู่เชี่ยวชาญจากสถานีทดลองชาไต้หวัน เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชาใน ประเทศไทย เป็นเวลา 3 เดือน ในคณะเดียวกัน ทาง ม.เชียงใหม่ ก็ได้เริ่มงานสรีรวิทยาของชา ต่อมาในปี 2530 สาขาไม้ผลของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ได้รับงบสนับสนุนจากงบประมาณวิจัยโครงการหลวง ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาชาขึ้น วัตถุประสงค์หลักเพื่อทำการคัดเลือก ปรับปรุงพันธ์ชาจีน ศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ผลิต ต้นกล้าชาพันธุ์ดีและปรับปรุงกระบวนการผลิตชาให้กับศูนย์พัฒนา โครงการหลวงต่างๆ ซึ่งอีก 3 ปีต่อมา ได้มีการอนุมัติจัดตั้งสถานีวิจัยชาขึ้น ที่บ้านห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ปัจจุบันทางสถานีได้ทำการผลิตชาจีนพันธุ์ห้วยน้ำขุ่น เบอร์ 3 (HK.NO3) ที่คัดเลือกจากแม่พันธุ์ชาจีนลูกผสม ของไต้หวัน เพื่อทำการแจกจ่าย ให้กับเกษตรกรในโครงการ และหน่วยงานทีสนใจ
ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการส่งเสริมเกษตรกรปลูกชามาตั้งแต่ 2533 โดยจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาพันธุ์ดีที่ศูนย์ส่งเสริมการผลิต พันธุ์พืชสวน เชียงราย จัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุึ์ดีเป็นสวนแก่เกษตรกร และส่งเสริมการปรับปรุงสวนชาวเขา โดยส่งเสริมให้เกษตรกร ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ดูแลรักษา และ ปลูกชาเสริมในสวนแปลงชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและผลิตชา แก่เกษตรกรผู้สนใจ จัดตั้งกลุ่มผ๔้ปลูกชา และประสานงานการตลาดระหว่าง เกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

Philippe IV Le Bel.jpg
พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
พระปรมาภิไธย พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
ราชวงศ์ กาเปเตียง
ครองราชย์ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314
รัชกาลก่อนหน้า พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
รัชกาลถัดไป พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส
พระราชบิดา พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดา อิสซาเบลลาแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระอัครมเหสี ฌานแห่งนาวาร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระราชโอรส/ธิดา พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
อิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (อังกฤษ: Philip IV of Franceหรือ Philip the Fair หรือ ฝรั่งเศส: Philip le Bel) (เมษายน–มิถุนายน ค.ศ. 1268 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของ

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1268 ที่พระราชวังฟองแตงโบลในประเทศฝรั่งเศส พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและ พระราชินีอิสซาเบลลา การเสกสมรสกับฌานแห่งนาวาร์ทำให้พระองค์ได้เป็น “พระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งนาวาร์” และเคานท์แห่งชองปาญ

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ทรงได้รับพระนามว่า “le Bel” เพราะทรงมีพระโฉมงามมิใช่เพราะความสามารถในทางการปกครอง

ควอซีคริสตัล

ผลึกแบบกึ่งเป็นรอบ (อังกฤษ: quasiperiodic crystal) หรือเรียกสั้นว่า ควอซีคริสตัล หรือ เควไซคริสตัล (อังกฤษ: quasicrystal) รูปแบบของแข็งกึ่งผลึกสามารถเติมช่องว่างทั้งหมดที่มีอย่างต่อเนื่องได้ แต่ขาดสมมาตรเคลื่อนที่ ขณะที่ผลึก ตามทฤษฎีข้อจำกัดทางผลึกวิทยา (crystallographic restriction theorem) คลาสสิก สามารถมีแกนหมุนได้เฉพาะสอง สาม สี่และหกรอบเท่านั้น รูปแบบการเลี้ยวเบนแบรก (Bragg diffraction) ของควอซีคริสตัลแสดงยอดแหลมด้วยระเบียบสมมาตรอื่น ๆ เช่น แกนหมุนห้าเท่า

เทลเลเซชันไม่สม่ำเสมอ (aperiodic tiling) ถูกค้นพบโดยนักคณิตศาสตร์ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 และ อีกราวยี่สิบปีให้หลัง ถูกพบว่าประยุกต์ใช้กับการศึกษาควอซีคริสตัล การค้นพบรูปแบบไม่สม่ำเสมอเหล่านี้ในธรรมชาติได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงกระบวนทัศน์ในสาขาวิทยาผลิกศาสตร์ ควอซีคริสตัลเคยถูกศึกษาและสังเกตก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจเพื่อประโยชน์ในมุมมองทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมของสสารกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1980

อธิบายโดยสังเขป การจัดเรียงตัวจะไม่เป็นรอบหากขาดสมมาตรเคลื่อนที่ หมายความว่าสำเนาเคลื่อนที่จะไม่มีทางเหมือนกับของเดิมทั้งหมด นิยามทางคณิตศาสตร์อย่างละเอียดว่า จะไม่มีสมมาตรเคลื่อนที่ในทิศทางอิสระเชิงเส้นมากกว่า n-1 โดยที่ n เป็นมิติของช่องว่างที่เติม นั่นคือ เทสเซลเลชันสาม มิติที่แสดงเป็นควอซีคริสตัลอาจมีสมมาตรเคลื่อนที่ในสองมิติ ความสามารถในการเลี้ยวเบนมาจากการมีอยู่ของส่วนย่อยจำนวนมากอย่างไม่จำกัด โดยมีระยะห่างเท่ากัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อธิบายคร่าว ๆ ได้ว่า ระเบียบพิสัยยาว (long-range order) ในทางการทดลอง ความไม่สม่ำเสมอนี้เปิดเผยในสมมาตรไม่ปกติของรูปแบบการเลี้ยวเบน นั่นคือ สมมาตรของการจัดเป็นระเบียบมากกว่าสอง สาม สี่หรือหก รายงานการพบสิ่งที่ภายหลังรู้จักกันว่าควอซีคริสตัลอย่างเป็นทางการครั้งแรก ทำโดยแดน เชชท์มัน และเพื่อนร่วมงานใน ค.ศ. 1984 เชชท์มันน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำ ค.ศ. 2011 จากการค้นพบของเขา

นับตั้งแต่การค้นพบของเชชท์มันครั้งแรกใน ค.ศ. 1984 มีรายงานควอซีคริสตัลหลายร้อยชนิดและยืนยันแล้ว โดยไม่ต้องสงสัย ควอซีคริสตัลไม่เป็นของแข็งแบบเฉพาะ (unique form) ของของแข็งอีกต่อไป พวกมันมีอยู่ทั่วไปในอัลลอยโลหะหลายชนิดและพอลิเมอร์บาง ชนิด ควอซีคริสตัลพบส่วนใหญ่ในอัลลอยอะลูมิเนียม (Al-Li-Cu, Al-Mn-Si, Al-Ni-Co, Al-Pd-Mn, Al-Cu-Fe, Al-Cu-V เป็นต้น) แต่ที่มีองค์ประกอบอื่นก็เป็นที่รู้เช่นกัน (Cd-Yb, Ti-Zr-Ni, Zn-Mg-Ho, Zn-Mg-Sc, In-Ag-Yb, Pd-U-Si เป็นต้น)