ประวัติความเป็นมาของ อำเภอบางสะพาน
ประวัติความเป็นมาของ อำเภอบางสะพาน ความเป็นมาของอำเภอบางสะพาน บางสะพาน เป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณ จากการสังเคราะห์ข้อมูลทางสังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 1,000 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอจะเชื่อถือได้ เช่น ในหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า มีรายชื่อลำดับหัวเมืองปักษ์ใต้ มีเมือง “บางตะพาน” และมีเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึง “บางตะพาน” ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง ตำบลบางตะพาน เป็นเมืองใช้ชื่อว่า “เมืองกำเนิดนพคุณ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ปฏิรูประบบราชการจัดการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล ให้ยุบเมืองกำเนิดนพคุณ เป็นอำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ ขึ้นกับเมืองชุมพร ต่อมาเมืองกำเนิดนพคุณ ขึ้นกับเมืองปราณบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ให้เปลี่ยนเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ให้ตัดอำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ เป็นอำเภอกำเนิดนพคุณ ต่อมา พ.ศ.2460 เปลี่ยนเป็นอำเภอบางสะพานส่วนชื่อกำเนิดนพคุณ เป็นเพียงชื่อตำบล จนถึงปัจจุบัน
บางสะพาน เป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัดประจวบฯ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 87 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีแผ่นดินแคบที่สุดในประเทศ (คอ คอดกะ) จากถึงพรมแดนเพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น อุดมไปด้วยทรัพยากรทาง ธรรมชาติ ทิศตะวันตกมีพรมแดนไม่ไกลจากชายแดนพม่า โดยมีเทือกเขา ตะนาวศรีเป็นเขตกั้น และยังมีน้ำตกน้อยใหญ่จำนวนมาก ด้านทิศตะวันออกติด กับทะเลอ่าวไทยมีหาดทรายยาวสุดสายตาและเกาะ แก่งกลางทะเลต่างๆ โดย เฉพาะ เกาะทะลุ เกาะสิงห์ สามารถดำน้ำชม ปะการังสวย งาม ซึ่งไม่ไกลจาก ฝั่งมากนัก ด้วยเหตุนี้เองอำเภอบางสะพาน ได้กำเนิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่ง ใหม่ที่หลายคนมองผ่าน
บางสะพาน เป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัดประจวบฯ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 87 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีแผ่นดินแคบที่สุดในประเทศ (คอ คอดกะ) จากถึงพรมแดนเพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น อุดมไปด้วยทรัพยากรทาง ธรรมชาติ ทิศตะวันตกมีพรมแดนไม่ไกลจากชายแดนพม่า โดยมีเทือกเขา ตะนาวศรีเป็นเขตกั้น และยังมีน้ำตกน้อยใหญ่จำนวนมาก ด้านทิศตะวันออกติด กับทะเลอ่าวไทยมีหาดทรายยาวสุดสายตาและเกาะ แก่งกลางทะเลต่างๆ โดย เฉพาะ เกาะทะลุ เกาะสิงห์ สามารถดำน้ำชม ปะการังสวย งาม ซึ่งไม่ไกลจาก ฝั่งมากนัก ด้วยเหตุนี้เองอำเภอบางสะพาน ได้กำเนิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่ง ใหม่ที่หลายคนมองผ่าน
ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอบางสะพานตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทับสะแก
ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตะนาวศรี (สหภาพพม่า)
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทับสะแก
ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตะนาวศรี (สหภาพพม่า)
การปกครองส่วนภูมิภาคท้องที่อำเภอบางสะพานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำเนิดนพคุณ
เทศบาลตำบลบ้านกรูด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธงชัย
เทศบาลตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำเนิดนพคุณ (นอกเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ) องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงศ์ประศาสน์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลร่อนทอง)
องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรูด)
องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยเกษมทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองมงคลทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่รำพึงทั้งตำบล
เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำเนิดนพคุณ
เทศบาลตำบลบ้านกรูด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธงชัย
เทศบาลตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำเนิดนพคุณ (นอกเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ) องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงศ์ประศาสน์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลร่อนทอง)
องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรูด)
องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยเกษมทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองมงคลทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่รำพึงทั้งตำบล
อำเภอบางสะพานอ่าวแม่รำพึง ห่างจากตัวเมืองประจวบฯประมาณ 120 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)แยกเข้าตัวอำเภอบางสะพานไปประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งหาดทรายขาว มีถนนเลาะเลียบตลอดแนวชายหาด มีร้านอาหารทะเลบริการนักท่องเที่ยวเหมาะสำหรับพักผ่อน
อ่าวบ่อทองหลาง ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาดประมาณ 4 กิโลเมตร มีชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมอยู่ริมเชิงเขาหาดทรายขาวและเกาะหินขนาดเล็กตั้งเรียงรายด้านหน้าอ่าวสามารถลงเล่นน้ำได้ บริเวณชายหาดมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยว
ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่บนเขาธงชัย ท้องที่บ้านกรูด ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กิโลเมตร จะพบตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ นอกจากนี้บนเขาธงชัยยังเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์เก้ายอด เป็นจุดชมวิวที่จะเห็นชายหาดที่ทอดตัวเป็นแนวตรงริมหาดชอุ่มเขียวด้วยสวนมะพร้าวกว้างใหญ่เป็นความงามที่ผสานผสมหาดทราย น้ำทะเลและทิวมะพร้าวรวมกันเป็นภาพที่สวยงามลงตัวมาก
เกาะลำร่า เป็นเกาะหินขนาดปานกลางอยู่ที่ตำบลธงชัย (อยู่ระหว่างเขตอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน) บริเวณรอบเกาะมีแนวประการัง บนเกาะเป็นที่อยู่ของชาวประมง
ถ้ำเขาม้าร้อง ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางสะพานไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหลายคูหาซึ่งมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าแสงสีต่าง ๆ ประดับประดาทำให้บรรยากาศในถ้ำดูสวยงามน่าสนใจ ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปวางเรียงรายตลอดแนว รถยนต์สามารถเข้าถึงปากถ้ำได้
อำเภอบางสะพานน้อย
อำเภอบางสะพานน้อย
เกาะทะลุ เกาะสังข์ เกาะสิงห์ เป็นเกาะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน บริเวณรอบ ๆ เกาะอุดมไปด้วยปะการังสีสวย หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับผู้นิยมดำน้ำชมปะการัง และตกปลา นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าเรือบ้านปากคลอง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที การเดินทาง จากถนนเพชรเกษมแยกซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 399 ตามเส้นทางบางสะพาน-ชายทะเลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงตลาดบางสะพานเลี้ยวขวาเข้าถนนบางสะพาน-หนองทัดไทซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดบางสะพานไปอีก 10 กิโลเมตร ท่าเรือจะอยู่ทางซ้ายมือ
สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก
ของฝากจากอำเภอหัวหิน
ได้แก่ เครื่องประดับทำจากกะลามะพร้าว ผ้าพิมพ์โขมพัตถ์ ผ้าพิมพ์ลายไทย ไม้กวาดปัดฝุ่น เครื่องใช้ทำจากป่านศรนารายณ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ตลอดจนอาหารทะเลสด และแห้ง
ของฝากจากอำเภอปราณบุรี ได้แก่ ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์สับปะรด และผลไม้อบแห้ง
ของฝากจากอำเภอทับสะแก ได้แก่ กล้วยอบน้ำผึ้ง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้
งานประเพณี
งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเขาช่องกระจก จัดขึ้นที่เขาช่องกระจก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ภายในงานจัดให้มีพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และการห่มผ้ารอบเจดีย์ นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานสามารถชมภูมิทัศน์ของอ่าวประจวบฯอ่าวน้อยและอ่าวมะนาวจากยอดภูเขากลางเมืองได้อีกด้วย
งานวันที่ระลึก วีรกรรม 8 ธันวาคม 2484
จัดขึ้นที่บริเวณอ่าวมะนาว ภายในพื้นที่กองบิน 53 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารของไทยที่เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ซึ่งยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ภายในงานมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานทหารอากาศ และส่วนราชการต่าง ๆ และมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การแสดงมหรสพ เช่น ลำตัด และโขนสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น