วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษาใต้
ภาษาถิ่นใต้ หรือ ภาษาใต้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาปักษ์ใต้ ได้แก่ ภาษาที่พูดกันในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)
ภาษาถิ่นใต้สำเนียงสงขลา
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ตัวอย่างภาษาใต้
เป็นไงบ้าง/อย่างไรบ้าง = พรือมัง, พันพรือม, พันพรือมัง (สงขลา จะออกเสียงว่า ผรื่อ เช่น ว่าผรื่อ = ว่าอย่างไร)
ตอนนี้ ปัจจุบัน = หวางนี่ (คำนี้ใช้ ในภาษาถิ่นใต้ทั่วไป) , แหละนี่ (คำนี้จะใช้เฉพาะในเขตอำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)
โง่ = โม่, โบ่
วัว = ฮัว (มาจากคำว่า งัว ในภาษาเก่า เนื่องจากในสำเนียงใต้จะไม่มีเสียง ง. งู แต่จะใช้เสียง ฮ. นกฮูก แทน)
เจ้าชู้ = อ้อร้อ (จะใช้เฉพาะ กับผู้หญิง เช่น สาวคนนี้ อ้อร้อ จัง คำ ๆ นี้มีความหมายในแง่ลบ ใกล้เคียงกับคำว่า แรด ในภาษากรุงเทพ)
ทุกข์ ลำบาก = เสดสา มาจากภาษามลายู siksa (เช่น ปีนี้เสดสาจัง = ปีนี้ลำบากมาก)
กลับบ้าน = หลบบ้าน, หลบเริน
เยอะๆ หลายๆ = ลุย, จังหู, จังเสีย, กองเอ, คาเอ, จังแจ็ก, จังเสีย, จ้าน, กองลุย
ไปไหน มาไหนคนเดียว =
มาแต่สวน
แฟน = แควน (ฟ จะเปลี่ยนเป็น คว เกือบทุกคำ) ,โม่เด็ก
ตะหลิว = เจียนฉี (ภายหลังมีการเพื้ยนในแถบจังหวัดพัทลุงกลายเป็น ฉ่อนฉี (ช้อนฉี))
ชะมด = มูสัง มาจากภาษามลายู musang
อร่อย = หรอย
อร่อยมาก = หรอยจังหู, หรอยพึด, หรอยอีตาย
ไม่ทราบ = ม่ารู่ม้าย (คำนี้ใช้ในเขต นครศรีธรรมราช และใกล้เคียง) ไม่โร่ (สำเนียงสงขลา เสียง อู จะแปลงเป็น เสียง โอ เช่น รู้ คนสงขลาจะพูดเป็น โร่, คู่ คนสงขลาจะพูดเป็น โค่, ต้นประดู่ = ต้นโด ฯลฯ )
ขี้เหร่, ไม่สวยไม่งาม = โมระ หรือ โบระ (ออกเสียงควบกล้ำ มากจาก buruk เทียบมลายูปัตตานี ฆอระ)
กังวล, เป็นห่วง = หวังเหวิด (คำนี้มักใช้ในภาษาไทยถิ่นใต้ตอนบน แต่โดยทั่วไปก็เข้าใจในความหมาย) มิมัง (ภาษาไทยถิ่นใต้ ในเขต จะนะ เทพา สะบ้าย้อย)
ศาลา = หลา
ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อ = ถุ้ง, หมาตักน้ำ บางถิ่นเรียก ตีหมา หรือ ตีมา มาจาก timba ในภาษามลายู
รีบเร่ง ลนลาน = ลกลัก หรือ ลกลก
อาการบ้าจี้ =
ลาต้า
ขว้างออกไป =
ลิว, ซัด
ซอมซ่อ = ม่อร็อง, ร้าย หรือร้ายๆ , หม็องแหม็ง
โลภมาก = ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โกรธ = หวิบ, หวี่
โกรธมาก =
หวิบอย่างแรง , หวิบหูจี้
บ๊อง = เบร่อ, เหมฺร่อ ,เร่อ
ทำไม = ไซ (หรืออาจออกเสียงว่า ใส)
อย่างไร = พันพรือ, พรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น